เมื่ออำนาจใหม่บังอาจเจริญรอยตามนิรโทษกรรมแบบอำนาจเก่า
โดย นักปรัชญาชายขอบ
ในสถานการณ์บ้านเมืองสับสน โลกโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊ก เป็นเหมือนโลกอีกใบหนึ่งที่เราได้ระบาย และถกเถียงแลกเปลี่ยน แม้บางครั้งจะกระทบกระทั่งกันหนักบ้างเบาบ้าง ก็ไม่ว่ากัน เป็นธรรมดาใน “ยุคสมัยวิกฤตภูมิปัญญา” ที่เรากำลังเผชิญอยู่ แต่โดยรวมแล้วหากตัดส่วนเล็กน้อยที่เกี่ยวกับลีลาท่าทีหรืออารมณ์ออกไป เราก็อาจได้สิ่งที่เกิดประโยชน์มากว่า แม้แต่คนที่ด่าเรา หากการด่านั้นมี “เหตุผล” ก็ถือว่ามีประโยชน์
ในสถานการณ์บ้านเมืองสับสน โลกโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊ก เป็นเหมือนโลกอีกใบหนึ่งที่เราได้ระบาย และถกเถียงแลกเปลี่ยน แม้บางครั้งจะกระทบกระทั่งกันหนักบ้างเบาบ้าง ก็ไม่ว่ากัน เป็นธรรมดาใน “ยุคสมัยวิกฤตภูมิปัญญา” ที่เรากำลังเผชิญอยู่ แต่โดยรวมแล้วหากตัดส่วนเล็กน้อยที่เกี่ยวกับลีลาท่าทีหรืออารมณ์ออกไป เราก็อาจได้สิ่งที่เกิดประโยชน์มากว่า แม้แต่คนที่ด่าเรา หากการด่านั้นมี “เหตุผล” ก็ถือว่ามีประโยชน์
ขอยกเรื่องที่น่าจะมีประโยชน์จากการวิเคราะห์ของ Pathai Pudha's
status. (ซึ่ง อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริแชร์มาอีกที) บางส่วนที่น่าสนใจ ดังนี้
การนิรโทษ
เป็นสนามช่วงชิงแดนกัน
ระหว่างอำนาจเก่า อำนาจใหม่
+ + + + +
เป็นสนามช่วงชิงแดนกัน
ระหว่างอำนาจเก่า อำนาจใหม่
+ + + + +
ในอาณาอำนาจเก่า ที่ผ่านมา
อำนาจเก่า เคยออก พ.ร.บ.นิรโทษมาหลายครั้งแล้วก็จริง
แต่เป็นนิรโทษให้แก่พวกตัวเอง พวกลูกน้องของตนเอง
อำนาจใหม่ จะทำในสิ่งเดียวกัน ก็เป็นการชิงแดนอำนาจ
อำนาจเก่า เคยออก พ.ร.บ.นิรโทษมาหลายครั้งแล้วก็จริง
แต่เป็นนิรโทษให้แก่พวกตัวเอง พวกลูกน้องของตนเอง
อำนาจใหม่ จะทำในสิ่งเดียวกัน ก็เป็นการชิงแดนอำนาจ
เพราะอำนาจเก่าเขาเป็นผู้จับ/จองจำ/ทำโทษ พวกของอำนาจใหม่
ถึงขั้นขอแลกตัวประกันด้วยคำว่า "นิรโทษทุกสีเสื้อ"
มันก็ยังเป็นข้อต่อรองที่ไร้ค่า ฟังน่าขันสำหรับอำนาจเก่า
เพราะพวกเสื้อเหลืองที่ยึดทำเนียบยึดสนามบิน
ไม่ได้ถูกจับ/จองจำ/คุมขัง…
ถึงขั้นขอแลกตัวประกันด้วยคำว่า "นิรโทษทุกสีเสื้อ"
มันก็ยังเป็นข้อต่อรองที่ไร้ค่า ฟังน่าขันสำหรับอำนาจเก่า
เพราะพวกเสื้อเหลืองที่ยึดทำเนียบยึดสนามบิน
ไม่ได้ถูกจับ/จองจำ/คุมขัง…
หากย้อนประวัติศาสตร์ ๑๔ ตุลา, ๖ ตุลา, พฤษภา ๓๕
ที่นักศึกษาประชาชนถูกปราบปรามบาดเจ็บล้มตายกันเป็นเบือ “อำนาจเก่า”
ก็นิรโทษกรรมแก่พวกตนเองทั้งนั้น
เพราะอำนาจเก่า “ทำอะไรไม่ผิด”
มาตลอดจึงทำให้เกิดเอกลักษณ์ของรัฐไทยดังที่เบเนดิก แอนเดอร์สันเรียกว่า
“ฆาตกรรมทางการเมืองด้วยน้ำมือกลุ่มผู้ปกครองเป็นบุคลิกปกติของเมืองไทย”
และกลุ่มผู้ปกครองก็ทำ “ฆาตกรรมกลางเมือง”
บนฐานคิดที่ต้องการรักษาอำนาจของพวกตนไว้โดยไม่สนใจว่าประชาชนต้องตายกัน
เท่าไร ดังข้อสังเกตของป๋วย อึ้งภากรณ์
...
เจตนาที่จะทำลายล้างพลังนักศึกษาและประชาชนที่ใฝ่เสรีภาพนั้นมีอยู่นานแล้ว
ในตุลาคม ๒๔๑๖
เมื่อมีเหตุทำให้เปลี่ยนระบบการปกครองมาเป็นรูปประชาธิปไตยนั้น
ได้มีผู้กล่าวว่าถ้าฆ่านักศึกษาประชาชนได้สักหมื่นสองหมื่นคนบ้านเมืองจะสงบ
ราบคาบ และได้สืบเจตนานี้ต่อมาจนถึงทุกวันนี้ ในการเลือกตั้งเมษายน ๒๕๑๙
ได้มีการปิดประกาศและโฆษณาจากพรรคการเมืองบางพรรคว่า
“สังคมนิยมทุกชนิดเป็นคอมมิวนิสต์” และกิตติวุฑโฒนวพลภิกขุ
ยังได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์นั้นไม่เป็นบาป”
ถึงแม้ในกันยายน-ตุลาคม ๒๕๑๙ เองก็ยังมีผู้กล่าวว่า
การฆ่าคนที่มาชุมนุมประท้วงจอมพลถนอม กิตติขจร สัก ๓๐,๐๐๐ คน
ก็เป็นการลงทุนที่ถูก
ความพ่ายแพ้ของทักษิณและพรรคเพื่อไทยวันนี้อาจไม่เกิด
หากดำเนินการไปตามร่าง พ.ร.บ.ของวรชัย เหมะ ที่พวกตนยกมาโต้ข้อกล่าวหา
“ล้างผิดคนโกง” มาโดยตลอด แต่พอลักไก่ไปนิรโทษกรรม “(ไม่)เหมาเข่ง”
(ที่ไม่มีคดี 112 อยู่ในเข่ง) ทำให้ข้อกล่าวหา “ล้างผิดคนโกง”
เป็นจริงขึ้นมาทันที
(อ่านต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น