หน้าเว็บ

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ผลทางการเมืองของมติศาลรัฐธรรมนูญ

ผลทางการเมืองของมติศาลรัฐธรรมนูญ


 

"นี่ มิใช่เสียงข้างน้อบ ปกติ
แต่เป็น เสียงข้างน้อยอภิสิทธิชน

ที่เป็นตัวแทนของ
อำนาจเก่า บารมีเก่า เงินทุนเก่า
ที่พ่ายแพ้การเลือกตั้ง ครั้งแล้วครั้งเล่า

แพ้ เสียงข้างมาก ที่ยังขาดสิทธิ เสมอภาค
ที่เป็นตัวแทนของ
อำนาจใหม่ บารบีใหม่ เงินุทนใหม่

สรุป
เกมการต่อสู้นี้ ยาว
ข้ามรัชสมัย
ใครอึด ใครมีไหวพริบดี ใครอายุยืนยาว
ชนะ ครับ"

Charnvit Ks
 

"เสียง ข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น

การ ที่ศาลรัฐธรรมนูญฉวยรวบอำนาจที่ไม่ได้มีไว้ให้แม้ในรัฐธรรมนูญนั้นเองเอาไป ใช้คอยปกป้องอำนาจอภิสิทธิ์ที่ต่อต้านเสียงข้างมากของ "เสียงข้างน้อย" ดังกล่าว ย่อมส่งผลโดยตรงเป็นการผลักไส "เสียงข้างมาก" ของประชาชนที่ถูกกีดกันกดทับจากอภิสิทธิ์ชนเหล่านั้นให้ไปอยู่ฝั่งตรงข้าม กับรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารและศาลรัฐธรรมนูญเอง

รอย ร้าวและความแตกแยกระหว่าง "เสียงข้างมาก" กับ "รัฐบาลและรัฐสภาฯที่อิงอำนาจทุนใหญ่" ในกรณีร่างพรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่งถูกเชื่อมสมานและผนึกกลับเข้าหากันอย่าง รวดเร็วด้วยมติศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว แทนที่จะถูกขยายออกไปเพื่อช่วงชิงเสียงข้างมากให้ห่างออกมา

ด้วย การตัดสินใจทางการเมืองที่ผลัดกันผิดพลาดของทั้งสองฝ่าย ความขัดแย้งวนกลับไปสู่สภาวะ ["เสียงข้างมาก" + "อำนาจทุนใหญ่" ในนามประชาธิปไตย] vs. ["เสียงข้างน้อย" + "อำนาจรัฐประหาร" ในนามความดีและความเป็นไทย] อย่างที่เคยเป็นมาอีกครั้งหนึ่ง

จากนี้กระบวนการแหงนหน้ามองฟ้าคอตั้งบ่าเพื่อหาอำนาจพิเศษมาพลิกดุลอำนาจทางการเมืองให้เป็นคุณกับฝ่ายตนคงจะดำเนินกันไปอย่างชุลมุน
 

ท่ามกลางความปั่นป่วน เปื่อยยุ่ย เสื่อมถอย ไม่มั่นใจ ชะงักงันของชีวิตเศรษฐกิจสังคมที่ยังไม่เห็นฝั่ง 
Kasian Tejapirs    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น