ทุจริตวิถีเพื่อขจัด “ระบอบทักษิณ”
โดย นักปรัชญาชายขอบ
สิ่งที่เรียกว่า “ระบอบทักษิณ” ดูเหมือนจะมีความหมาย ลื่นไหลไปจากนิยามของต้นตำหรับที่มาของคำนี้(อ.เกษียร เตชะพีระ) จนแทบจะจับต้นชนปลายไม่ถูก จนวันนี้ คำว่าระบอบทักษิณก็ยังไม่อาจสื่อสารให้เข้าใจตรงกันได้ เพราะมีบางฝ่ายพยายามสร้างความหมายของมันขึ้นมาใช้ในการต่อสู้ทางการเมือง เพื่อปลุกเร้าให้ผู้คนเชื่อ และ “อิน” กับความหมายนั้น อันเป็นความหมายที่ต้องขจัดให้มันหมดไปจากสังคมไทย แต่อีกฝ่ายก็พยายามปฏิเสธว่าระบอบทักษิณในความหมายนั้นไม่มีอยู่จริง
ล่าสุด บนเวที กปปส.ได้นิยามว่า ระบอบทักษิณก็คือ “ตระกูลชินวัตร” การล้างระบอบทักษิณก็คือการขจัดตระกูลชินวัตรออกไปจากการเมือง แม้ ว่านี่ดูจะเป็นวาทกรรมปลุกเร้าในม็อบ แต่มันอาจเป็นความหมายที่ชัดเจน ตรงไปตรงมาที่สุดของคำว่า “ระบอบทักษิณ” ที่พวกเขาต้องการกำจัดจริงๆ ก็เป็นได้กระมัง
เพราะหากระบอบทักษิณ หมายถึงระบอบทุจริตคอร์รัปชันเชิงนโยบาย เผด็จการรัฐสภา แทรกแซงสื่อ องค์กรอิสระ สมบูรณาญาสิทธิทุน สร้างความแตกแยก ฯลฯ ก็ไม่น่าจะมีเฉพาะรัฐบาลยุคทักษิณเท่านั้นแน่ๆ ที่ทำเช่นนั้น ระบอบอำมาตยาธิปไตยน่าจะมีความเป็นสมบูรณาญาสิทธิทุนมากกว่าหรือไม่ เป็นมายาวนานกว่าหรือไม่ เรื่องคอร์รัปชันเชิงนโยบาย ความเป็นเผด็จการ การแทรกแซงสื่อ องค์กรอิสระ สร้างความแตกแยกฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งที่ระบอบอำมาตย์ทำมาก่อนแล้วทั้งนั้นมิใช่หรือ และทำมากขึ้นในกระบวนการขจัดระบอบทักษิณใช่หรือไม่ ฉะนั้น ถ้าหากรังเกียจระบอบทักษิณในความหมายดังกล่าวนี้จริง ทำไมจึงไปโหนระบอบอำมาตย์ กองทัพ เพื่อขจัดระบอบทักษิณด้วยเล่า
สำหรับชนชั้นกลางการศึกษาดี ที่สายตาสั้นมองว่า ก่อนยุคทักษิณบ้านเมืองอยู่กันอย่างสุขสงบมาตลอด แสดงว่าความมีการศึกษาไม่ได้ช่วยให้เราเข้าใจและยอมรับความจริงว่า ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นต้นมา สังคมการเมืองไทยเผชิญความขัดแย้งมาโดยตลอด ระหว่างฝ่ายที่ต้องการประชาธิปไตยที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคแท้จริง กับฝ่ายกษัตริย์นิยมที่ต้องการฟื้นฟูพระราชอำนาจ จึงทำให้สังคมเราดำเนินมาภายใต้ปรากฏการณ์ความขัดแย้งในรูปของกบฏปฏิวัติรัฐ ประหาร 17 ครั้ง เฉลี่ยทุก 4 ปี 7 เดือน
ฉะนั้น ความขัดแย้งระหว่างอุดมการณ์กษัตริย์นิยมกับประชาธิปไตยจึงมีมาอย่างยาวนาน แม้ความขัดแย้งที่ต่อเนื่องมาเกือบ 10 ปีนี้ ก็ชัดเจนว่าฝ่ายที่ต้องการขจัดระบอบทักษิณก็อ้างอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ในการต่อสู้ ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนทักษิณก็อ้างอุดมการณ์ประชาธิปไตย ปฏิเสธอำมาตยาธิปไตย หรืออำนาจนอกระบบ
แน่นอนว่า ทั้งสองฝ่ายอาจมีความหลากหลายและซับซ้อนในตัวเอง แต่เนื้อหาเชิงอุดมการณ์ในการต่อสู้ตามที่ปรากฏเป็นจริงในวาทกรรมของทั้งสอง ฝ่าย คือเนื้อหาการต่อสู้ระหว่างอุดมการณ์กษัตริย์นิยมกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยใน ระดับที่แน่นอนหนึ่งอย่างแน่นอน
แม้ว่าตัวละครและวิธีการ วัฒนธรรมในการต่อสู้ของแต่ละฝ่ายอาจมีทั้งลักษณะที่สอดคล้องและขัดแย้งกับ อุดมการณ์ที่พวกตนเรียกร้องอยู่ก็ตาม แต่นั่นเป็นปรากฏการณ์ปกติธรรมดาของสถานการณ์ปะทะขัดแย้งทางความคิดทางการ เมืองของผู้คนจำนวนมาก ทว่าในที่สุดแล้วเมื่อร่อนตะแกรงหาความคิดหรืออุดมการณ์หลักของความขัดแย้ง ก็คืออุดมการณ์กษัตริย์นิยมและอุดมการณ์ประชาธิปไตยนั่นเอง
เพราะชัดเจนว่าฝ่ายที่ต่อสู้ด้วยอุดมการณ์กษัตริย์นิยม ต้องการคงสถานะ อำนาจ บทบาทของสถาบันกษัตริย์ที่แตะต้องไม่ได้แบบปัจจุบัน ซึ่งถูกสถาปนาขึ้นตั้งแต่รัฐประหาร 2490 และ 2501 เป็นต้นมาและพัฒนาให้โดดเด่นยิ่งขึ้นดังที่สัมผัสได้ในทุกวันนี้ ส่วนอีกฝ่ายต้องการประชาธิปไตยที่นักการเมือง สถาบันกษัตริย์ และทุกระบบอำนาจในสังคมต้องโปร่งใสวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้
เพราะชัดเจนว่าฝ่ายที่ต่อสู้ด้วยอุดมการณ์กษัตริย์นิยม ต้องการคงสถานะ อำนาจ บทบาทของสถาบันกษัตริย์ที่แตะต้องไม่ได้แบบปัจจุบัน ซึ่งถูกสถาปนาขึ้นตั้งแต่รัฐประหาร 2490 และ 2501 เป็นต้นมาและพัฒนาให้โดดเด่นยิ่งขึ้นดังที่สัมผัสได้ในทุกวันนี้ ส่วนอีกฝ่ายต้องการประชาธิปไตยที่นักการเมือง สถาบันกษัตริย์ และทุกระบบอำนาจในสังคมต้องโปร่งใสวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้
จึงอาจกล่าวได้ว่า ปรากฏการณ์เสื้อเหลือง เสื้อแดงที่พัฒนามาถึงเหตุการณ์ในวันนี้ แท้ที่จริงแล้วก็คือการต่อสู้ระหว่างอุดมการณ์กษัตริย์นิยมกับอุดมการณ์ ประชาธิปไตยที่ดำเนินมาแต่ 2475 ซึ่งยังไม่มีฝ่ายใดประสบชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แน่นอนว่าสิ่งที่เรียกว่า “ระบอบทักษิณ” คือปัจจัยหลักอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ของสงครามความขัดแย้งที่ยัง ดำเนินต่อไป
แต่จะอย่างไรก็ตาม วิถีทางในการต่อสู้ของฝ่ายอุดมการณ์กษัตริย์นิยม อาจเรียกได้ว่าเป็น “ทุจริตวิถีเพื่อขจัดระบอบทักษิณ” หมายถึง วิถีที่มุ่งขจัดการทุจริตด้วยการทุจริตยิ่งกว่า หรือขจัดการโกงด้วยการโกงยิ่งกว่า เช่น
1) ใช้สถาบันกษัตริย์ทำลายฝ่ายการเมือง ด้วยวาทกรรม "เราจะสู้เพื่อในหลวง" โดยอ้างว่าเป็นแนวทางการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แต่ (ก) ไม่มีการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอย่างอารยะที่ไหนในโลกจะใช้วิธีอ้างสถาบัน กษัตริย์ที่วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบไม่ได้มาให้ความชอบธรรมกับความเป็น ประชาธิปไตยที่โดยธรรมชาติของระบบนี้แล้วย่อมเรียกร้องเสรีภาพในการวิพากษ์ วิจารณ์ตรวจสอบ และ (ข) การอ้างความดีงามของสถาบันที่วิจารณ์ตรวจสอบไม่ได้ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความเลวของนักการเมืองที่วิจารณ์ตรวจสอบได้เป็น เรื่องที่ไม่มีความเป็นเหตุผลหรือเป็นวิทยาศาสตร์ แต่เป็นการใช้ “myth” มายาหรือความเชื่อเชิงศาสนาที่คล้อยไปทางไสยเวทย์สะกดให้ผู้คนหลงใหลในเวทย์ มนต์ของความเชื่อที่ว่ามีบางบุคคลที่มีแต่ความดีโดยส่วนเดียว และมีบางบุคคลที่มีแต่ความเลวโดยส่วนเดียว
ฉะนั้น วิถีการต่อสู้ทางการเมืองแบบนี้จึงเป็น “ทุจริตวิถี” เพราะเป็นการสร้างมายากลบเลื่อน บดบังมโนธรรมทางสังคมในการวินิจฉัยถูกผิดตามหลักการประชาธิปไตยให้เบี่ยงเบน บิดเบี้ยวไป
หมายความว่า ระบอบทักษิณผิดกฎหมายบางข้อไม่ได้ แต่ ปชป. สุเทพ (อำมาตย์, พธม.) ทำในสิ่งที่ไม่มีใน รธน. (กระทั่งฉีก รธน.) ก็ได้
2. ใช้วิธี รปห.49 โดยอ้างว่าวิถีทาง ปชต.ปกติจัดการระบอบทักษิณไม่ได้ ต้องใช้ "วิธีพิเศษ" พระสงฆ์ นักวิชาการพุทธศาสนาบอกว่า "รปห.มีสาเหตุเป็นไปตามกฎอิทัปปัจจยา" อธิการบดี นักวิชาการ ปัญญาชน สื่อมวลชน บอกว่า "ไม่อยากให้เกิด รปห.แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ำจำเป็นต้องเข้าไปร่วมกับรัฐบาลที่มาจาก รปห.วางกติกาให้ประเทศเดินหน้าไปได้"
3. ใช้วิธีวางกติกาคือรัฐธรรมนูญ 50 และกำหนดขั้นตอน, ตั้งองค์กรกำจัดทักษิณ จนนำไปสู่ปัญหาซับซ้อนต่างๆตามมา เช่น การยุบพรรคซ้ำๆ การตั้ง รบ.ในค่ายทหาร การยึดทรัพย์ การต่อต้าน รบ.ร่างทรงอำมาตย์ การสลายการชุมนุม ปี 53
4. แต่การผ่าน ร่าง พ.ร.บ.เหมาเข่งแบบเดียวกับอำมาตย์เคยทำมาตลอดเป็นความผิดอย่างร้ายแรง รบ.จากการเลือกตั้งไม่มีความชอบธรรมที่จะทำเช่นนั้น เป็นชนวนให้ รบ.ถูกกดดันด้วยมวลชนกลุ่มต่างๆ รวมทั้งเสื้อแดงบางส่วน ผลคือ ร่างนั้นตกไปในขั้นตอนวุฒิสภา แต่ รบ.ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบต่อความผิดพลาดนี้จึงยิ่งเกิดแรงต้านมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นความไม่ชอบธรรมของ รบ.
แต่แทนที่ม็อบซึ่งนำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ (และปชป.) จะใช้วิถีทางประชาธิปไตย เช่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือเรียกร้องกดดันให้รัฐบาลลาออก หรือยุบเสภาเลือกตั้งใหม่เท่านั้น พวกเขากลับไปสร้างแนวร่วมกับกลุ่มพันธมิตรเดิมและกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่พอใจ พ.ร.บ.เหมาเข่งออกมาโค่นระบอบทักษิณ โดยข้อเรียกร้องคือ "ล้างระบอบทักษิณ หมายถึงให้ตระกูลชินวัตรออกไปจากการเมือง ออกนอกประเทศ และตั้งสภาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย" โดยใช้ม็อบยึดสถานที่ราชการต่างๆ และมุ่งยึดทำเนียบรัฐบาลและอำนาจรัฐ ซึ่งไม่ใช่วิถีทางที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
สรุป ตามทัศนะของสุเทพ, ปชป.และบรรดาคนดีมีการศึกษาที่มุ่งโค่นระบอบทักษิณ คือ
- ระบอบทักษิณสมควรถูกขจัดด้วย รปห.49
- นิติรัฐ นิติธรรม ที่ระบอบทักษิณต้องยอมรับ คือนิติรัฐ นิติธรรมที่มาจากหรือสืบเนื่องจาก รปห.49
- ม็อบเสื้อแดงละเมิดกฎหมายสมควรถูกสลายการชุมนุมด้วยกองทัพที่ใช้รถถัง อาวุธ กระสุนจริงซึ่งอธิบายได้ว่า “เป็นไปตามหลักสากล” แต่ม็อบคนดีที่อ้างสถาบันกษัตริย์ในการต่อสู้ทางการเมืองที่บุกยึดสถานที่ ราชการถูกยิงแก๊สน้ำตานั้น ถูกอธิบายว่า “รบ.เพื่อไทยใช้วิถีป่าเถื่อนไม่เป็นไปตามหลักสากล”
- แต่ ปชป., สุเทพ ม็อบคนดีที่แสดงการเคารพหลักนิติรัฐ นิติธรรม ด้วยการอ้างคุณธรรมจริยธรรม ชาติ ศาสน์ กษัตริย์เพื่อขจัดระบอบทักษิณทำทุกอย่างได้หมด แม้ด้วยวิถีทางนอก รธน.ก็ต้องทำได้
หมายความว่า ระบอบทักษิณผิดกฎหมายบางข้อไม่ได้ แต่ ปชป. สุเทพ (อำมาตย์, พธม.) ทำในสิ่งที่ไม่มีใน รธน. (กระทั่งฉีก รธน.) ก็ได้
ทั้งหมดนี้ถูกอธิบายว่าระบอบทักษิณไม่เคารพ "หลักนิติรัฐ นิติธรรม” (ที่ดำเนินการโดยกระบวนการสืบเนื่องจาก รปห.) และต้องสลายการชุมนุมด้วย "กระสุนจริง" เพราะ "คนเสื้อแดงไม่เคารพกฎหมาย" โดยพรรคประชาธิปไตยยืนยันตลอดมาว่า "ประเทศปกครองด้วยระบบกฎหมาย และกฎหมายต้องศักดิ์สิทธิ์"
ทั้งหมดนี้คือ “ทุจริตวิถีเพื่อขจัดระบอบทักษิณ” (ที่พวกเขาจำกัดความแคบลงมาว่าคือ “ตระกูลชินวัตร”) แต่ความจริงแล้วมันเกี่ยวข้องกับประชาชนเสียงข้างมากที่เลือกรัฐบาล และมวลชนอีกจำนวนมากที่รับไม่ได้กับ “ทุจริตวิถี” ดังกล่าว และได้ออกมาต่อต้านอย่างยาวนาน
ทำให้เห็นความจริงว่า หากระบอบทักษิณทุจริตและได้ก่อความเสียแก่ประเทศมากมาย แต่การแก้ปัญหาระบอบนี้ด้วย “ทุจริตวิถี” ที่โกงมโนธรรมทางสังคม คอร์รัปชันอุดมการณ์ประชาธิปไตย ทุจริตต่อรัฐธรรมนูญโดยใช้วิธีการนอกรัฐธรรมนูญหลากรูปแบบในการขจัดระบอบ ทักษิณ ได้นำมาซึ่งความแตกแยกทางสังคมและความเสียหายทางเศรษฐกิจ ทำลายโอกาสในการพัฒนาประชาธิปไตย อันเป็นความเสียหายอย่างหนักยิ่งกว่าที่ระบอบทักษิณได้ทำไว้อย่างเทียบกัน ไม่ได้
ทางออกที่จะไม่เกิดความรุนแรงและการเข่นฆ่ากันอีกต่อไป ไม่มีทางอื่น นอกจากฝ่ายที่ต้านระบอบทักษิณ ต้องกลับมาใช้ “สุจริตวิถี” คือใช้วิถีทางประชาธิปไตย เสนอแนวคิด นโยบาย พิมพ์เขียวการปฏิรูปประเทศผ่านสนามการเลือกตั้ง เวทีสาธารณะ หรือการลงประชามติภายใต้กติกาที่ free and fair เท่านั้น จึงจะมีทางชนะระบอบทักษิณได้ และมีความหมายต่อการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50210
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น