หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

"ดร.ชาญวิทย์" ชี้จุดแข็ง-จุดอ่อน คดีปราสาทพระวิหาร มองคนไทยถูกหลอกอย่างไร

"ดร.ชาญวิทย์" ชี้จุดแข็ง-จุดอ่อน คดีปราสาทพระวิหาร มองคนไทยถูกหลอกอย่างไร


 

ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึง การแถลงด้วยวาจาของฝ่ายกัมพูชา กรณีปราสาทพระวิหาร ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ที่กรุงเฮก เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2556 ว่า จุดอ่อนของไทย และจุดแข็งของกัมพูชา ซึ่งนายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา และ (ศาสตราจารย์ฌอง มาร์ก ซอเรล) ทนายความชาวฝรั่งเศส  ผู้เป็นอาจารย์สอนอยู่มหาวิทยาลัยปารีส รุกหนัก ในการแถลงต่อศาล คือ เรื่อง แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งประเด็นนี้ มีส่วนสำคัญ ที่ทำให้ผู้พิพากษาในปี 2505 ตัดสินให้กัมพูชาชนะ 9 ต่อ 3 เสียง

ดร.ชาญวิทย์ กล่าวว่า แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน นี้ จัดทำขึ้นโดยการสำรวจร่วมกัน ระหว่าง สยามกับฝรั่งเศส โดยตัวแทนฝ่ายสยามคือ เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สะท้าน สนิทวงศ์) เป็นตัวแทนประชุมทุกครั้ง ฉะนั้น แม้จะเป็นแผนที่ ที่พิมพ์โดยฝรั่งเศส แต่ชนชั้นนำสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 รับรู้ โดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการฯ (พระบิดาแห่งการทูตไทย) รับแผนที่มาใช้ 50 ชุด กรมพระยาดำรงราชานุภาพ รับไปใช้และขอเพิ่ม 15 ชุด นี่คือหลักฐาน ที่ นายถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และ ทนายความ ไม่เคยบอกประชาชนชาวไทย และทำให้เข้าใจผิดมาจนทุกวันนี้

ดังนั้น ประชาชนชาวไทยไม่ทราบว่า กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการฯ และกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทำอะไร แม้แต่คนในยุคปัจจุบัน ก็ยังไม่ทราบ ส่วนรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่นำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็อึดอัด รวมถึงกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหม ก็ ไม่กล้าพูดเรื่องนี้ เพราะอาจจะถูกกล่าวหาว่า “ขายชาติ” หรือ “หนักแผ่นดิน” เนื่องจาก นี่คือ จุดอ่อนของไทย และ จุดแข็งของกัมพูชา ซึ่งฝ่ายกัมพูชา ตอกย้ำเรื่องนี้เยอะมาก

ดร.ชาญวิทย์ มองว่า ตราบใดที่รัฐบาล ฝ่ายค้าน ทหาร นักการเมือง นักวิชาการ และ สื่อมวลชน ไม่พูดเรื่องนี้ ประชาชน ก็จะถูกหลอก ว่าหลักฐานที่กัมพูชากล่าวถึง เป็นแผนที่ของฝรั่งเศส ขณะที่ความจริง คือ เป็นแผนที่ที่สำรวจร่วมกันระหว่างสยามและฝรั่งเศส

ตอนนี้สังคมไทยจึงมีสภาพที่“ผู้นำสยาม”ยอมรับแผนที่แต่ “ผู้นำไทย” ไม่ยอมรับแผนที่ ซึ่งฝ่ายไทยจะแถลงอย่างไรยังคงเป็นเรื่อง ต้องจับตาดู


*หมายเหตุ โดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ


อนึ่ง ลัทธิชาตินิยมของประเทศเรานั้น ควรแยกแยะให้เห็นชัดเจน คือ สมัยก่อน 2475 นั้น เป็นเรื่องของสมัย “สยาม” และ “ราชาชาตินิยม” เป็นเวอร์ชั่นของรัชกาลที่ 5-6-7 กับสมเด็จกรมฯ เทววงศ์ และ กรมฯ ดำรงฯ สมัย “ราชาธิปไตย” ที่ต้องต่อสู้กับฝรั่งเศส เพื่อรักษา “เอกราช” ต้องยอม “สละ/เสียดินแดน” ให้ฝรั่งเศส ที่มีอำนาจมากกว่า แข็งแรงกว่า




ส่วนสมัยต่อมา กลายเป็น (เปลี่ยนนามประเทศ) เป็น “ไทย” จึงมีลัทธิชาตินิยมใหม่ กลายเป็น “อำมาตยาชาตินิยม” เป็นเวอร์ชั่นของ “เสนาอำมาตย์” เช่น พิบูลสงคราม/วิจิตรวาทการ/ธนิต ที่ต้องการ “ขยาย/ได้ดินแดน” ซึ่งลัทธินี้ถูกสืบทอดโดย สฤษด์/ถนอม/ถนัด รวมทั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยม อย่างเสนีย์/คึกฤทธิ์ ปราโมช หรือผู้นำ ปชป อย่างควง อภัยวงศ์ จนถึง อภิสิทธิ เวชชาชีวะ ในปัจจุบันนี้ กลุ่มนี้ต่อสู้กับเขมรกัมพูชา ซึ่งมีอำนาจน้อยกว่า และอ่อนแอกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น