หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557

5 กกต.ลงนามหนังสือ 'ลับ' ถึง 'ยิ่งลักษณ์' พิจารณาเลื่อนเลือกตั้ง

5 กกต.ลงนามหนังสือ 'ลับ' ถึง 'ยิ่งลักษณ์' พิจารณาเลื่อนเลือกตั้ง 



?5 เสือ กกต.สั่ง จนท.ยึดพระราชดำรัสในหลวง ทำบ้านเมืองสงบ? 

5 กกต. ลงนามหนังสือ "ลับ ด่วนที่สุด" ถึง "ยิ่งลักษณ์" พิจารณาเลื่อนเลือกตั้ง 2 ก.พ. ชี้ปัญหาเพียบ หวั่นหลังเลือกตั้งเปิดประชุมไม่ได้ ชี้ทางออก ครม.ส่งกฤษฎีชุดใหญ่ตีความกำหนดวันเลือกตั้งใหม่
 
สำนักข่าวอิศรา รายงาน อ้างแหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลว่า เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้ง 5 คนได้ลงนามในหนังสือลับ ด่วนที่สุด ถึง น.ส.ยิ่งลักษริ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้พิจารณาเลื่อนการเลือกตั้ง วันที่ 2 ก.พ. 2557 ออกไป เนื่องจากเห็นว่ามีข้อเท็จจริงหลายประการที่ชี้ให้เห็นว่า หากมีการจัดเลือกตั้ง ในวันที่ 2 ก.พ. จะเกิดปัญหาขึ้น รวมทั้งไม่แน่ใจว่า เมื่อเลือกตั้งไปแล้ว จะเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ เนื่องจาก ส.ส.ที่เลือกมา จะไม่ครบจำนวน 95% ตามที่รัฐธรรมกำหนด ทำให้ไม่สามารถเปิดประชุมได้ ดังนั้น หากมีการเลือกตั้งไป ในสภาพการณ์แบบนี้ จะทำให้สูญเสียงบประมาณจำนวนมาก ซึ่งอำนาจการพิจารณาเลื่อนการเลือกตั้ง เป็นอำนาจของรัฐบาล สามารถกระทำได้โดยการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมในการกำหนดวันเลือก ตั้งใหม่
  
แหล่งข่าวกล่าวว่า มีแนวโน้มที่ ครม.จะส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาชุดใหญ่ พิจารณา เพราะรัฐบาล สามารถออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมในการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้

ทั้งนี้ สำนักข่าวอิศรา รายงานด้วยว่า นายสมชัย ศรีสุทธิยากร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ยืนยันว่า “กกต. ทั้ง 5 ได้ลงนามในหนังสือร่วมกันเพื่อเสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้ง ต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตามที่มีข่าวจริง และขณะนี้ กกต.อยู่ระหว่างขั้นตอนการประสานงาน เพื่อขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า”

ขณะที่ในช่วงเวลา 13.00 น. ของวันที่ 10 ม.ค.นี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีนัดประชุมวาระพิเศษ ใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1.เรื่องหนังสือที่ สตง. ส่งมาให้ทบทวนการจัดการเลือกตั้ง 2.กรณีที่ศาลฎีกาได้ปฏิเสธคำร้องของผู้สมัคร ส.ส.ใน 28 เขต 8 จังหวัด และ 3.การประเมินสถานการณ์ปัญหาทางการเมือง และความวุ่นวายที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันนี้ (9 ม.ค.57) จนถึงวันที่ 2 ก.พ. 2557 ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรรุนแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการเลือกตั้งหรือไม่
 
โดยเบื้องต้น นายสมชัย ระบุว่า คาดว่าภายหลังการประชุมหากได้ข้อสรุปเรียบร้อยแล้ว กกต. คงจะต้องไปเข้าพบกับคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อปรึกษาหารือร่วมกันกันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เพราะตามพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนี้ นายกรัฐมนตรี และประธาน กกต. ถือเป็นผู้รักษาการการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายฉบับนี้ ส่วนผลการหารือร่วมกันจะเป็นอย่างไรนั้น คงได้คำตอบที่ชัดเจนหลังจากมีการประชุมร่วมกันอีกครั้ง

(ที่มา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น