จับตาศาล-องค์กรอิสระ เรียงแถวโค่นรบ.ยิ่งลักษณ์
เอฟทีไล่เรียงศาล-องค์กรอิสระ ต่อต้านการเลือกตั้ง
ไม่เอาระบอบรัฐสภา แห่จองคิวถล่มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จ่อใช้
'ตุลาการภิวัตน์' เหมือนปี 2551 ช่วยลงดาบซ้ำหากม็อบปิดกรุงเหลว จับตา
'ข้อหาถนนลูกรัง'
ผู้สื่อข่าว ไมเคิล พีล ของหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ ระบุในบทรายงาน
เรื่อง "สถาบันต่างๆจ้องเล่นงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์" ว่า
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มีหนังสือถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(กกต.) ขอให้ทบทวนการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 2
กุมภาพันธ์นี้ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความสูญเปล่า
ก่อนหน้านี้ กกต.เองก็เคยเรียกร้องรัฐบาลให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไป อ้างเหตุผลว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุรุนแรง
การเข้าแทรกแซงของสตง.
มีขึ้นหลังจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
ระบุในสัปดาห์นี้ว่า จะแจ้งข้อกล่าวหาส.ส-ส.ว. รวม 308 คน
ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพรรคเพื่อไทยของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ที่พยายามจะแก้ไขรัฐธรรมนูญกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
ล่าสุด เมื่อวันพุธ ตุลาการคนหนึ่งของศาลรัฐธรรมนูญไทย
โจมตีโครงการทางรถไฟความเร็วสูงของรัฐบาล ที่ถูกกล่าวหาว่าขัดรัฐธรรมนูญ
เขาแสดงความเห็นว่า เมืองไทยยังไม่พร้อมสำหรับรถไฟความเร็วสูง
ควรอัพเกรดถนนลูกรังให้หมดทั้งประเทศเสียก่อน
แม้สถาบันเหล่านี้บอกว่า ตนทำงานโดยอิสระ แต่บรรดานักวิเคราะห์ชี้ว่า
คำวินิจฉัยของศาลและองค์กรอิสระเป็นการแทรกแซงการเมืองอย่างโจ่งแจ้ง
แม้แต่ปีกฝ่ายค้านยังรู้สึกอับอายต่อกรณีศาลรัฐธรรมนูญแทรกแซงโครงการรถไฟ
ทีมงานของนายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีคลัง และแกนนำพรรคประชาธิปัตย์
ยังทวีตข้อความว่า ตุลาการไม่ควรแสดงความเห็นในเรื่องนโยบาย
แม้มีมูลทางกฎหมายที่จะวิจารณ์รัฐบาลก็ตาม
ไฟแนนเชียลไทมส์ รายงานว่า แม้ข้อโจมตีของศาลและองค์กรอิสระจะฟังดูพื้นๆ แต่สามารถส่งผลสะเทือนต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้อย่างใหญ่หลวง
ศาลของประเทศไทยเคยปลดนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช เมื่อปี 2551
ด้วยข้อหารับค่าตอบแทนจากรายการทำกับข้าวทางทีวีตั้งแต่ก่อนดำรงตำแหน่ง
และยังเคยยุบพรรคไทยรักไทยกับพรรคพลังประชาชนที่เป็นพันธมิตรของทักษิณและ
ยิ่งลักษณ์ พร้อมทั้งตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรค เป็นเวลา 5
ปี
พวงทอง ภวัครพันธ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ให้ความเห็นต่อการเข้าแถวต่อคิวของศาลและองค์กรอิสระที่จะออกคำวินิจฉัยเล่น
งานรัฐบาล ว่า เป็นเรื่อง "น่าหัวร่อ" พร้อมกับวิจารณ์สถาบันเหล่านี้ว่า
"ทำเกินอำนาจ"
"คำวินิจฉัยและการชี้มูลความผิดขององค์กรเหล่านี้
ลดทอนความชอบธรรมของรัฐบาล
สถาบันเหล่านี้กำลังส่งลูกให้ผู้ประท้วงรับไปเล่นต่อ"
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ผู้นี้กล่าว
ไฟแนนเชียลไทมส์ รายงานว่า การจัดกลไกเช่นนี้
เป็นส่วนหนึ่งของการช่วงชิงอำนาจระหว่างชนชั้นนำกลุ่มอำนาจเก่า
กับอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ และพันธมิตร ซึ่งชนะเลือกตั้งทุกครั้งนับแต่ปี
2544
พรรคฝ่ายค้านกล่าวหาทักษิณว่า คอรัปชั่น, ละเมิดสิทธิมนุษยชน และซื้อเสียง
แต่ผู้สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณบอกว่า
พวกผู้ประท้วงกำลังพยายามทำลายประชาธิปไตย
เพราะรู้ตัวดีว่าพวกตนจะพ่ายแพ้หากมีการจัดการเลือกตั้งอย่างเป็นธรรม.
(ที่มา)
http://news.voicetv.co.th/thailand/93607.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น