สมาพันธ์สิทธิมนุษยชนสากลประณามการขัดขวางการเลือกตั้งล่วงหน้า
26 ม.ค. 2557 วันนี้ FIDH (International Federation for Human Rights) และองค์กรสมาชิกอย่างสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ขอประณามการกระทำที่ผิดกฎหมายของผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล ซึ่งขัดขวางไม่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า ก่อนจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. 2557
“การขัดขวางไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นการ ละเมิดกฎหมายไทยและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง การใช้สิทธิในการชุมนุมอย่างสงบและสันติต้องไม่ละเมิดต่อสิทธิพื้นฐานของ พลเรือนในการลงคะแนนเสียง การกระทำของผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลเป็นการละเมิดสิทธิอย่างชัดเจน และเป็นสิ่งที่ต้องถูกประณาม” คาริม ลาฮิดจี (Karim Lahidji) ประธานของ FIDH กล่าว
ในวันที่ 26 มกราคม ผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลหลายคนซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการ เปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ภายใต้การนำของอดีตรองนายกรัฐมนตรีสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้เข้าปิดล้อมคูหาเลือกตั้งหลายแห่งในกรุงเทพฯ มีการปิดกั้นไม่ให้เจ้าหน้าที่จัดการเลือกตั้งตามหน้าที่ และขัดขวางไม่ให้ประชาชนเข้าไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงล่วงหน้า ในบางกรณี ผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลถึงกับนำแม่กุญแจมาคล้องที่ประตูทางเข้าคูหาเลือก ตั้ง ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งต้องงดไม่ให้มีการใช้สิทธิเลือกตั้ง ล่วงหน้าจำนวน 33 จาก 50 เขตในกรุงเทพฯ ทั้งยังมีการงดการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าในหลายจังหวัด ทั้งที่ภูเก็ต ชุมพร ระนอง สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช และตรัง
“กปปส.อ้างว่าเป็นขบวนการสนับสนุนประชาธิปไตย แต่การที่พวกเขาละเมิดสิทธิของผู้ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้ง และการขัดขวางกระบวนการเลือกตั้ง จะถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร” ดร.จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ประธาน สสส. กล่าว
ในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยกำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมารัฐบาลยืนยันว่าไม่สามารถเลื่อนการเลือกตั้งได้แม้จะมีความไม่สงบ ทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หาทางที่จะชะลอการเลือกตั้งออกไป ส่งผลให้ทางกกต.ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยในประเด็นนี้ เมื่อวันที่ 24 มกราคม ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าเนื่องจากความไม่สงบทางการเมือง อาจมีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปได้ ทั้งศาลยังมีคำวินิจฉัยว่ากกต.สามารถขอให้รัฐบาลเลื่อนการเลือกตั้งออกไป โดยนายกฯ ยิ่งลักษณ์ มีกำหนดประชุมร่วมกับกกต.ในวันที่ 28 มกราคมเพื่อพูดคุยว่าจำเป็นต้องมีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปหรือไม่
“รัฐบาลไทยต้องประกันว่าพลเมืองสามารถใช้สิทธิในการ เลือกตั้งได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากถ้ารัฐบาลต้องการเดินหน้าให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ตามกำหนดเดิม” ดร.จตุรงค์กล่าว
(ที่มา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น