หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปัญหา ชาวนา อนาคต ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รอด หรือ ไม่รอด ?

ปัญหา ชาวนา อนาคต ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รอด หรือ ไม่รอด ?



ปรากฏการณ์
 
ทั้งๆ ที่ปัญหาการจ่ายเงินค่าจำนำข้าวของชาวนา เป็นปัญหาในทางเศรษฐกิจ เป็นความเดือดร้อนในพรมแดนแห่งชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนา

แต่เรื่องนี้ได้ถูก "ขยาย" ให้กลายเป็นปัญหา "การเมือง"

เห็นได้จาก 1 ปัญหาการเมืองอันเนื่องแต่การใช้อำนาจตามมาตรา 181 ของรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อย่างชนิดที่เรียกได้ว่า

"เถรตรง"

เห็นได้จาก 1 การทำให้ปัญหาในทาง "เศรษฐกิจ" ปัญหาอันสัมพันธ์กับการได้หรือไม่ได้เงินของชาวนาให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ "แผนใหญ่" ไม่ว่ามวลมหาประชาชน กปปส. ไม่ว่าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่า "เครือข่ายรัฐประหารเดือนกันยายน 2549"

แผนใหญ่ในการ "ขับ" และ "โค่น" รัฐบาล

ปรากฏการณ์เรื่องเงินจำนำข้าวของ "ชาวนา" ดำเนินไปอย่างประสานระหว่างเรื่องทางเศรษฐกิจกับเรื่องทางการเมือง

เพื่อ "ดิสเครดิต" เพื่อ "ทำลาย" ให้มะม่วงงอมและหล่น

ศึกษาปัญหา "ยางพารา"

มีความจำเป็นที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องหวนกลับไปศึกษาบทเรียนและความสำเร็จจากการแก้ปัญหายางพารา

จำสถานการณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2556 ได้หรือไม่

เป็นสถานการณ์ที่พรรคประชาธิปัตย์เริ่มเปิดเวที "ผ่าความจริง" ข้ามคืนที่แยกอุรุพงษ์ แล้วเดินเท้าเข้าไปยังอาคารรัฐสภา

จากนั้น นำไปสู่อุบัติแห่ง "ชะอวด โมเดล" ที่นครศรีธรรมราช

จากนั้น นำไปสู่การประกาศ "ชัตดาวน์" ประเทศ โดยที่ภาคใต้ที่หน้าโค-ออป สุราษฎร์ธานี ที่ภาคเหนืออุตรดิตถ์ ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา และภาคกลางเดินทางจากภาคตะวันออกมาล้อมทำเนียบรัฐบาล

รัฐบาลมอบหมายให้ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ประสานกับ พล.ต.ต.สัมพันธ์ กลิ่นเฟื่อง ในการตัดไฟแต่ต้นลม

ใช้รูปการทาง "เศรษฐกิจ" บริหารจัดการกับปัญหา "ราคายาง"

ใช้เครือข่ายทางการเมืองดับความขัดแย้งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง คงเหลือเพียงภาคใต้

ปัญหา "ราคายาง" จบลงได้อย่าง "งดงาม"

ต้องยึดกุม ด้านหลัก ด้านรอง

อย่าลืมเป็นอันขาดว่า ปัญหาอันเนื่องจากเงินจำนำข้าวเป็นปัญหาทาง "เศรษฐกิจ" เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของ "ชาวนา"

แม้ นายอานันท์ ปันยารชุน กับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล พยายาม "ขยาย"

ขยายโดยการเกี่ยวและแตะขาอย่างลับๆ กับความพยายามของ กปปส. ความพยายามของพรรคประชาธิปัตย์

ก็อย่า "เต้น" ไปตามจังหวะ "เพลง"

ทาง 1 ต้องยึดกุมหลักการทางเศรษฐกิจเหมือนกับที่ยึดกุมในการบริหารจัดการปัญหาราคายางเมื่อเดือนกันยายน 2556

ทาง 1 จำเป็นต้องอาศัยประเด็น "การเมือง" มาเป็น "เครื่องมือ"

เป็นเครื่องมือในการอรรถาธิบายถึงการจงใจของบางพวกบางฝ่ายในการ "ขยาย" เรื่องนี้ให้เป็นประเด็นการเมือง ขยายเพื่อต่อชีวิตการเคลื่อนไหวของ กปปส.

ทั้งๆ ที่ความจริงดำเนินไปเหมือน "งูเห่า" กับ "ชาวนา" มากกว่า

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อาจนุ่มนวล มากด้วยมารยาท ไม่โจมตีฝ่ายตรงกันข้าม แต่นั่นมิได้หมายความว่าส่วนอื่นของรัฐบาล ส่วนอื่นของพรรคเพื่อไทยจะทำเหมือนไม่มีปาก

ต้องเข้าใจ "บทบาท" ต้องเข้าใจ "การศึก"

แนวโน้ม ความเป็นไปได้

มีความเชื่อมั่นสูงเป็นอย่างยิ่งจาก "คนชั้นสูง" จาก กปปส. จากพรรคประชาธิปัตย์ ว่าปัญหาชาวนาอาจมีส่วนทลายสถานะการเมืองของรัฐบาลให้พังครืน

แต่ในที่สุด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะตีฝ่า "มรสุม" นี้ไปได้อย่างทุลักทุเล


(ที่มา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น