หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ทบทวน พิมพ์เขียว บันได 4 ขั้น ′คมช.′ ผ่านผล ′เลือกตั้ง′

ทบทวน พิมพ์เขียว บันได 4 ขั้น ′คมช.′ ผ่านผล ′เลือกตั้ง′


10501944_10152536806271622_1149869568106370121_n
 
‘บิ๊กตู่’ เผยรธน.ชั่วคราวมีไม่เกิน 50 มาตรา อาจต้องมีข้อจำกัดบางประการ
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid

จับตา! จะมีคนจากกองทัพกี่คน? คนสนิทกับคสช.กี่คน? คนที่เคลื่อนไหวสนับสนุนการรัฐประหารของ คสช.ร่วมกับ กปปส.กี่คน?


ถามว่าตอนที่ "คมช." ร่างแผนบันได 4 ขั้นนั้น และในแต่ละ "ขั้น" บันได คมช.กำหนดรายละเอียดของแผนเอาไว้อย่างไร

ความเป็นจริงในทางการเมืองได้ให้ "คำตอบ" ในระดับ 1

นั่นก็คือ ระหว่างแผนบันไดขั้น 1 ถึงแผนบันไดขั้น 3 คมช.จะเป็นผู้ลงมือกระทำด้วยกำลังและอำนาจที่มีอยู่

อันเท่ากับเปิดทางสะดวกให้กับแผนบันไดขั้น 4

นั่นเห็นได้จากการจัดตั้ง "คตส." เพื่อเล่นงานนักการเมืองฝ่ายตรงกันข้าม นั่นเห็นได้จากการยุบพรรคไทยรักไทยและตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหาร 111 คน

นั่นเห็นได้จากการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550

อันไม่เพียงแต่เป็นฐานที่มาของกระบวนการ "การเลือกตั้ง" หากยังเป็นฐานที่มาแห่ง "กกต." เป็นฐานที่มาแห่ง "ป.ป.ช." และเป็นฐานที่มาแห่ง "ศาลรัฐธรรมนูญ"
ทุกอย่างล้วนสนองให้กับ "บันไดขั้น 4"
จะว่ารัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 เป็นรัฐประหาร "เสียของ" ก็ว่าไม่ได้เต็มปากเต็มคำนักเพราะที่ล้มเหลวนั้นเสมอเป็นเพียง "บันไดขั้น 4" เท่านั้น

กลไกอื่น "เวิร์ก" กลไกอื่น "ราบรื่น"
บันไดขั้น 4 ของรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 อันกำหนดโดย "คมช." นั้น คือ บันไดแห่งการเลือกตั้ง


โดยตั้งความหวัง 1 ไว้กับ พรรคประชาธิปัตย์

โดยตั้งความหวัง 1 ไว้กับแนวร่วมทางการเมืองอันเนื่องแต่สภาวะแพแตก กระจัดกระจายของพรรคไทยรักไทย

สัมผัสได้ในเบื้องต้นจาก พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคมัชฌิมาธิปไตย

เป้าหมายของ คมช. ก็คือ จะรวบรวมเอา 2 ส่วนนี้ผนึกรวมกับ พรรคชาติไทย พรรครวมใจไทย

แต่เมื่อผลการเลือกตั้งเมื่อเดือนธันวาคม 2550 ออกมาทุกอย่างก็พังครืน

แม้พรรคพลังประชาชนจะได้ไม่ถึงครึ่ง กล่าวคือได้ 248 เสียง แต่จำนวนนี้ก็มากและเป็นพลังอันมหาศาลดูดดึงพรรคชาติไทยเข้ามา

เมื่อบันไดขั้น 4 หัก กลไก "อื่น" อันวางไว้ก็ยังเดินหน้า

1 คือกลไกเดิมอันได้แก่การเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ไต่กระแสความรุนแรงถึงขั้นยึดทำเนียบรัฐบาล ยึดสนามบินดอนเมือง ยึดสนามบินสุวรรณภูมิ ขณะเดียวกัน 1 กลไก "องค์กรอิสระ" ก็เดินหน้ายุบพรรคพลังประชาชน ส่งผลให้เกิดการแตกและแยกตัวอันกลายมาเป็นพรรคภูมิใจไทยในกาลต่อมา

บันไดขั้น 4 จึงสำเร็จในเดือนธันวาคม 2551
แม้โดยพิมพ์เขียวอันเรียกว่าบันได 4 ขั้นของคมช.ทำให้พรรคประชาธิปัตย์สามารถเป็นรัฐบาลได้ตามเป้าหมาย

แต่ "สภาพ" ก็มิได้ดำเนินไปด้วยความราบรื่น

อย่างน้อยก็เกิดการเคลื่อนไหวต้านขึ้น 2 ครั้ง กล่าวคือ ครั้งแรก ในเดือนเมษายน 2552 ครั้งที่ 2 ในเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553

ส่งผลให้มีคนตายร่วม 100 ศพ บาดเจ็บเกือบ 2,000 คน

ขณะเดียวกัน ภายหลังการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยกรรมวิธีการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ก็ ตัดสินใจยุบสภาด้วยความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถได้ชัยชนะ

ล้างอายจากที่เคยพ่ายแพ้เมื่อเดือนธันวาคม 2550

แต่แล้วผลการเลือกตั้งอย่างเป็นการทั่วไปในเดือนกรกฎาคม 2554 พรรคประชาธิปัตย์ก็พ่ายแพ้อีก

เป็นการพ่ายแพ้ต่อพรรคเพื่อไทย เป็นการพ่ายแพ้ต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ความพ่ายแพ้ของพรรคประชาธิปัตย์และพันธมิตรเช่นนี้เอง กลไก "อื่น" อันจัดวางเอาไว้ตั้งแต่รัฐประหารเดือนกันยายน 2549 จึงต้องขับเคลื่อนอีกครั้ง

กระทั่งเป็นรัฐประหารในเดือนพฤษภาคม 2557 ในที่สุด
ผ่านบทเรียนจากรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 ผ่านบทเรียนจากรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557

ถามว่ากระบวนการรัฐประหารยังคิดจะใช้บริการ "เจ้าเก่า" ตามที่กำหนดไว้ในแผนบันไดขั้น 4 อยู่อีกหรือไม่ เพราะประสบการณ์ความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง 2 หนมีความเด่นชัดยิ่ง

ว่ากลไกนี้ "เสื่อม" ว่ากลไกนี้ "ไร้" ประสิทธิภาพ


(ที่มา) 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1405063786

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น