หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554


ผู้พิพากษาปฎิเสธการนำเอาคำให้การมาใช้ในการพิจาณาคดี การค้าอาวุธ

เขียนโดย นายโนอาห์ โรสเซนเบอร์ก
จากหนังสือพิมพ์ นิวยอร์ค ไทม์ ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554


รูปภาพ




แปลโดย: ดวงจำปา


การประสบชัยชนะซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก ก่อนการพิจารณาคดีของนายวิคเตอร์ บูท ซึ่งเป็นชาวรัสเซียที่ถูกกล่าวหาว่า สมรู้ร่วมคิดในการค้าอาวุธให้กับองค์การก่อการร้าย ผู้พิพากษาของศาลรัฐบาลกลาง ได้ลงความเห็นเมื่อวันพุธ (2วันที่แล้ว)ว่า คำให้การบางประเด็นที่นายบู้ทได้ให้ไว้หลังจากที่เขาถูกจับกุมเมื่อปี พ.ศ. 2551 จาก การปฎิบัติการอย่างสายฟ้าแลบในประเทศไทยนั้น ไม่สามารถนำมาใช้ในการพิจารณาคดีได้

ในคำตัดสินของผู้พิพากษาหญิง ชีร่า เอ เชนด์ลิน ได้เขียนไว้ในคำพิพากษาว่า คำสารภาพที่นายบู้ทได้เขียนไว้นั้น “ไม่ได้กระทำด้วยความสมัครใจ” และเธอได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของ เจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดสองคน ซึ่งเป็นผู้สอบปากคำ นายบู้ท หลังจากที่เขาได้ถูกกักกัน และต่อมาได้ให้การกับศาลก่อนการพิจารณาความ

ผู้ พิพากษาสรุปว่า เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันกับคำให้การ ซึ่งเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดนั้น ได้รับรู้ หลังจากที่นายบู้ทได้ถูกจับกุม การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจของประเทศไทย ที่ได้ปฎิเสธการอนุญาตให้นายบู้ทสามารถพบปะกับที่ปรึกษาทางกฎหมายและตัวแทน จากสถานฑูตประเทศรัสเซียได้ เธอยังได้พบว่า คำยืนยันจากเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติด ที่ว่า พวกเขานั้นไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปพบกับนายบู้ทได้อีกหลังจากการพบครั้งแรก นั้น เป็นเรื่อง “โกหก” และกล่าวต่อไปว่า พวกเขาหลอกลวง เมื่อพวกเขาได้ปฎิเสธโดยพูดเปรยๆว่า พวกเขาสามารถนำตัว นายบู้ทเข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกาได้อย่างทันท่วงที ถ้า นายบู้ท “ให้ความร่วมมือ” และสามารถยกเลิกเงื่อนไขในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้อีกด้วย

ดัง นั้น ผู้พิพากษาเชนด์ลิน จึงให้เครดิต จากการยืนกรานของทีมทนายฝ่ายจำเลยที่ว่า เจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดนั้น ได้ข่มขู่นายบู้ท โดยการพูดเป็นเชิงว่า เขาจะต้องผจญกับ “โรคติดต่อ, ความหิวโหย, ความร้อนระอุ และ การถูกข่มขืน” ในเรือนจำของประเทศไทย นายบู้ทจะถูกทอดทิ้งเมื่อเขาปฎิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ปราบ ปรามยาเสพติดของอเมริกัน

อย่างไรก็ตาม ผู้พิพากษาได้ยอมรับว่า การตัดสินให้ยกเลิกนำเอาคำให้การของนายบู้ทมาใช้นั้น มาจาก วิธีการคุกคาม ซึ่ง “ปราศจากการทำร้ายร่างกายหรือมีการทรมานใดๆ” นั้น เป็น “เรื่องที่จบไปแล้ว”

เมื่อถูกถามในเรื่องความเห็นเกี่ยวกับประเด็น ของผู้พิพากษา ถึงเรื่องความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติด โฆษกของสำนักงานได้บอกกับนักข่าวคนหนึ่ง ถึงข้อความธรรมดาจากอีเมล์ฉบับหนึ่ง ซึ่งเขียนโดย นางเอลเลน เดวิส ซึ่งเป็นโฆษกของอัยการของประเทศสหรัฐอเมริกา ณ เมืองแมนแฮทตั้น

“ด้วย ความเคารพต่อศาลยุติธรรม แต่ฝ่ายเราไม่เห็นด้วยกับความเห็นของผู้พิพากษา และมีแผนที่จะอุทธรณ์ ให้มีการพิจารณาทบทวนใหม่อีกครั้งหนึ่ง” นางเดวิส ได้เขียนไว้

การพิจารณาคดีของนายบู้ทซึ่งได้กำหนดไว้ว่า จะเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคมนี้ ยังวนเวียนอยู่กับข้อหาที่เขาตกลงที่จะขายขีปนาวุธ ซึ่งสามารถยิงจากภาคพื้นดินขึ้นสู่อากาศได้ และ อาวุธยุโธปกรณ์อื่นๆ ที่ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติด ได้ปลอมตัวเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการปฎิวัติของประเทศโคลัมเบีย หรือ ฟาร์ค (FARC) ซึ่งมีความประสงค์ที่จะใช้อาวุธเหล่านั้น ต่อสู้กับนักบินชาวอเมริกันซึ่งคอยสังเกตความเคลื่อนไหวในการขนส่งยาเสพติด

นาย เคทเนท แคพลาน ซึ่งเป็นทนายของนายบู้ท ได้ปฎิเสธต่อการแสดงความเห็นใดๆ แต่นายแอนดรู ฮาคุสช่า ซึ่งแต่งตั้งตัวเองว่าเป็นที่ปรึกษาของทีมกฎหมาย ได้ให้ความเห็นว่า คำตัดสินของผู้พิพากษาเชนด์ลินนั้น เป็นชัยชนะขั้นหนึ่งของทีมงาน


“ผมคิดว่า มันแสดงให้เห็นว่า ความยุติธรรมทางกฎหมายนั้น จะต้องได้รับชัยชนะ” เขาได้กล่าวในท้ายสุด





ความคิดเห็นของผู้แปล:


เมื่อไรเราจะได้เห็นผู้พิพากษาบางประเทศ ให้ความยุติธรรมต่อจำเลยบ้างหนอ? โดยเฉพาะจำเลยซึ่งเป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคม!

ผู้ ต้องหาที่ถูกข่มขู่ในชั้นการสอบสวนนั้น ศาลยุติธรรมส่วนใหญ่จะไม่อนุญาต ให้นำเอาคำให้การเหล่านี้เข้ามาใช้ในการพิจารณาคดี เนื่องจากว่า ผู้ต้องสงสัยถูกบังคับให้เซ็นชื่อในคำให้การที่ร่างไว้ อย่างตามใจชอบของพนักงานสอบสวน

หลักการนี้เป็นหลักการสากล ที่ใช้มาจนเกือบจะร้อยปีเข้าไปแล้ว ทำไมกระบวนการยุติธรรมทั้งกระบวนการ ของบางประเทศยังคงล้าหลังอยู่ขนาดนั้น??? ไม่ละอายใจกันบ้างหรือ???

ผู้ พิพากษารัฐบาลกลาง มาจากการเสนอชื่อโดยประธานาธิบดีของประเทศ ผ่านการรับรองจากวุฒิสมาชิกสภาของประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง ผู้พิพากษาจะได้เข้าไปทำงานในตำแหน่ง ก็ต้องได้รับการสาบานตัว โดยผู้พิพากษาศาลสูงสุด ซึ่งมาจากการรับรองโดยผู้แทนของประชาชนเหมือนกัน

ผู้ พิพากษาและทุกคนในกระบวนการยุติธรรม เป็นคนของประชาชน ไม่ใช่ทำงานแทนหรือเพื่อคนหนึ่งคนใด เพราะอำนาจอธิปไตยนั้น ต้องมาจากประชาชนเท่านั้น และไม่มีอะไรต่อท้ายค่ะ

ยิ่งพวกท่านไม่ ต้องมาจากการเลือกตั้งจากประชาชน แต่กินเงินเดือนที่สูงลิบลิ่วจากภาษีประชาชน แล้วยังมาปฏิบัติแบบชั่วๆกับประชาชนผู้บริสุทธิ์อีก โดยไม่มีแม้แต่มโนธรรม ความละอายแก่ใจ ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่าจำเลยผิดจริงหรือไม่ มันดับเบิ้ลจัญไรจริงๆ นี่พูดถึง กระบวนการยุติธรรมของประเทศไหนก็ไม่รู้ซิคะ... ยังงงๆอยู่.... (ง่วงมากค่ะขอไปนอนก่อน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น