บรรษัทระดับโลกหวั่นมาตรการควบคุมเน็ตในไทย ทำธุรกิจชะงัก
---------
15 กันยายน 2554
กรุงเทพฯ – บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกส่งสัญญาณความกังวลต่อมาตรการควบคุมการจราจรทางอิน เทอร์เน็ตในประเทศไทย ซึ่งอาจส่งผลต่อศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
ตลอดระยะเวลาสี่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการประกาศใช้กฎหมายเฝ้าระวังอินเทอร์เน็ต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปราบปรามการล่อลวงออนไลน์ และส่งเสริมธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์ระบุว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวกลับถูกใช้เพื่อสอดส่องเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเมืองใน เว็บไซต์ ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกให้แก่นักลงทุนและกลุ่มอุตสาหกรรมระดับโลกที่ดำเนิน กิจการในประเทศไทย อาทิ กูเกิล ยาฮู อีเบย์ ฯลฯ
อินเทอร์เน็ตมีอิทธิพลอย่างสำคัญในประเทศไทย ซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นฮับการลงทุนนานาชาติ ปัจจุบัน คนไทยจำนวนมากจับจ่ายของใช้ประจำวัน สั่งพิซซ่า และวิจารณ์การรัฐประหาร การจลาจล รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ผ่านทางออนไลน์
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ภาครัฐของไทยเชื่อว่า คนไทยบางส่วนล้ำเส้นและกระทำการละเมิดขอบเขตของกฎหมายที่ห้ามการวิพากษ์ วิจารณ์สถาบันกษัตริย์และราชวงศ์อย่างเข้มงวด โดยในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่าน นักวิเคราะห์และนักกิจกรรมซึ่งสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความเห็น กล่าวว่า มีการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเพิ่มขึ้นอย่าง มาก
สำหรับภาคธุรกิจที่ดำเนินการด้านอินเทอร์เน็ตนั้น แสดงความวิตกกังวลเป็นพิเศษต่อกรณีที่ จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท กำลังเผชิญข้อกล่าวหาภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ ด้วยเหตุผลว่า เธอลบข้อความที่ไม่เหมาะสมออกจากกระดานการสนทนาสาธารณะช้าเกินไป หากศาลมีคำพิพากษาโดยมิให้มีการอุทธรณ์ จีรนุชอาจต้องจำคุกเป็นเวลากว่า 20 ปี
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2011/09/36956
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น