หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วัฒนธรรมปล่อยวาง “กับดักการหลอกตัวเอง”

สุรพศ ทวีศักดิ์

“ชีวิต คนตะวันออกมีความสุขมากกว่าคนตะวันตก เพราะผู้คนไม่ค่อยตั้งคำถามกับตัวเองตลอดเวลา เราปล่อยวาง อะไรผ่านแล้วก็ให้ผ่านไป เพราะถ้าตั้งคำถามกับตัวเองบ่อยๆ จะมากจะน้อยปฏิเสธไม่ได้ว่ามันเจ็บปวด อย่างเรื่อง 6 ตุลาฯ มีคนส่วนหนึ่งเหมือนกันที่ออกมาเชียร์ให้จัดการนักศึกษา ถ้าคุณเก็บมาคิด มันต้องเจ็บปวดขึ้นมาอีก ตรงกันข้าม ถ้าปล่อยวาง ก็ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ ยกเว้นญาติของคนตาย นั่นเขาคงสุขไม่ได้อยู่แล้ว แต่จะทำยังไง ในเมื่อทั้งระบบของเราเป็นแบบนี้”

(สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล จากนิตยสาร GM ฉบับเดือนสิงหาคม 2001)

 
ข้อสังเกตข้างต้นสะท้อนถึง “วัฒนธรรมปล่อยวาง” ได้อย่างเป็นรูปธรรม ในปี 2553 ที่ผ่านมาผมไปสัมภาษณ์พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงหลายรูปประกอบงานวิจัยชื่อ “พระสงฆ์กับการเลือกฝ่ายทางการเมือง” มุมมองหนึ่งที่ได้เห็นชัดเจนเป็นพิเศษคือมุมมองเรื่อง “การปล่อยวาง” ในความหมายข้างต้น เช่น พระพยอม กัลยาโณ เสนอทำนองว่า “กรณี 91 ศพ” เป็นต้น หากมีการหาคำตอบกันอย่างถึงที่สุดว่าใครเป็นคนผิดก็เท่ากับเป็นการฟื้นฝอยหา ตะเข็บ ความขัดแย้งก็ไม่จบ ความปรองดองก็เกิดไม่ได้ ฉะนั้น ทุกฝ่ายจึงควรลืมอดีตเพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ด้วยการสร้าง “ความปรอดอง”

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2011/11/37979

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น