หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พ.ร.ฎ.อภัยโทษในมุม ′วีระกานต์′ "ถ้าจะช่วยคนอื่นทั้งหมด แต่ยกเว้นพี่ชายตัวเอง ก็คงเป็นเรื่องบ้า!" 




แนว การเคลื่อนไหวเพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้กลับประเทศ โดยวิธีการขอพระราชทานอภัยโทษ ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อมีกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านร่างแก้ไขพระราชกฤษฎีกาขออภัยโทษ เมื่อวันที่ 15 พ.ย. ที่ผ่านมา เพราะก่อนหน้านี้กลุ่มคนเสื้อแดงหรือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่ง ชาติ (นปช.) เคยรวบรวมรายชื่อถวายฎีกากว่า 3 ล้านชื่อ แล้วตั้งขบวนที่ท้องสนามหลวงนำโดย "วีระกานต์ มุสิกพงศ์" สมัยยังเป็นประธาน นปช. เป็นตัวแทนไปยื่นเอกสารยังสำนักพระราชวัง เมื่อ 17 สิงหาคม 2552 อันเป็นการรณรงค์เคลื่อนไหวต่อเนื่องหลังเหตุการณ์ "โฟนอิน" ครั้งแรกของ พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อ 1 พ.ย.2551 

แม้ว่าร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับของ "ครม.ยิ่งลักษณ์" จะยังไม่เปิดเผยอย่างเป็นทางการว่ารายชื่อนับหมื่นรายได้ระบุชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นหนึ่งในนั้นด้วยหรือไม่ แต่กระแสก็ถูก "หยุด" โดยจดหมายจากดูไบ ของ"ทักษิณ" เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา และการประกาศของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ด้วยถ้อยทำนองว่า ถ้ามีชื่อ "ทักษิณ" ในรายการขออภัยโทษก็จะไม่มีชื่อ "ประชา" เป็นรัฐมนตรี

ผ่านจากคำพูดและความเคลื่อนไหวที่ถูกมองว่าถูกลดระดับเป็นการ "โยนหินถามทาง" แต่ในสายตาของ "วีระกานต์" ผู้เคลื่อนไหวในประเด็นเดียวกันมานานนับปี มองว่าเรื่องดังกล่าวเป็นขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญและเป็นอำนาจพระมหากษัตริย์ โดยไม่มีเงื่อนไขว่าต้องได้รับโทษจำคุก หรือต้องคำพิพากษาถึงที่สุด

"ประชาชาติออนไลน์" สัมภาษณ์อดีตประธาน นปช. และ อดีตหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย (บ้านเลขที่ 111) ผู้กำลังจะได้รับสิทธิการเลือกตั้งในอีก 6 เดือนข้างหน้า ภายหลังถูกเพิกถอนสิทธิฯ ในคดียุบพรรคไทยรักไทย ตั้งแต่ปี 2550 "วีระกานต์" อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง พูดติดตลกถึงสิทธิการเลือกตั้งที่กำลังจะกลับมาในไม่ช้าว่า "...ผมคงจะได้ใช้สิทธินี้ ไปสมัคร กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน"

ตัวอย่างบทสัมภาษณ์

@@@ มองอย่างไรข้อที่นายกรัฐมนตรีถูกตำหนิว่าช่วยพี่ชาย

ถ้าเป็นผม ก็ไม่กังวล ถ้าจะทำก็ต้องทำ แต่ถ้าจะช่วยคนอื่นทั้งหมด แต่ยกเว้นพี่ชายตัวเอง ก็คงเป็นเรื่องบ้า!

@@@ คุณทักษิณ ยังไม่เคยรับโทษจำคุก ทำให้ไม่เข้าองค์ประกอบที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือไม่

ไม่มีปัญหานั้น ไม่มีกฎหมายที่จำกัดไว้อย่างนั้น อย่าว่าแต่กรณีไม่เคยจำคุกเลย เคยมีกรณีที่บางคนคดีพิจารณาอยู่ในศาล ยังไม่มีคำพิพากษา ก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษมา หรือบางคนคดียังไม่ถึงศาล แต่อยู่ในขั้นตำรวจกำลังสอบสวน ก็เคยมี ที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ผมไม่อยากระบุตัวบุคคล เพราะเจ้าตัวเขาไม่เต็มใจ เราก็ไม่อยากล่วงล้ำ แต่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นเหตุการณ์ไม่กี่ปีมานี้แหละ

คลิกอ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มที่นี่ 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321887195&grpid=01&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น