หน้าเว็บ

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ขบวนรถไฟอำนาจชนกัน..ที่สถานีจตุพร


รูปภาพ


 วิจัย ใจภักดี

ข่าวเจาะลึก จาก RED POWER เล่มที่ 17 วันที่ 1 สิงหาคม 2554

การ พังทลายของโครงสร้างระบอบการปกครองในรอยต่อของระบอบศักดินาสู่ยุค ประชาธิปไตยของทุกรัฐล้วนแล้วแต่มีปัจจัยสำคัญที่เหมือนกันคือ ผู้มีอำนาจมองไม่เห็นพลังแห่งพัฒนาการของสิ่งที่เรียกว่า “ความตื่นตัวของประชาชน”


แม้มีบทเรียนให้เห็นแล้ว ผู้มีอำนาจก็ยังมองไม่เห็น

ไม่ เพียงแต่มองไม่เห็นแต่ยังไม่เชื่อด้วยว่าระบอบอำนาจที่พระเจ้าประทานให้แก่ กษัตริย์จะพังทลายได้ด้วยฝีมือของพลังแห่งคนจนที่เขาดูถูกว่าเป็นคนโง่

การพังทลายของราชวงศ์บูร์บลองในฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1789 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารีอังตัวเนต มองไม่เห็นผลสะเทือนของสงครามกลางเมืองในอังกฤษที่อยู่ใกล้กันระหว่าง พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 กับสามัญชนครอมเวลล์ ที่ก่อตัวตั้งแต่ต้นทศวรรษ ค.ศ.1640

การต่อสู้ที่ยาวนานระหว่างแนวคิดกษัตริย์นิยมกับสาธารณรัฐนิยม เกือบหนึ่งศตวรรษที่เริ่มจากการปฏิวัติในฝรั่งเศสจาก ค.ศ. 1789 ขยายตัวไปทั้งภาคพื้นยุโรป แต่กลับมิได้ให้บทเรียนแก่ราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ของโลกอย่างราชวงศ์ชิงในจีนและ ราชวงศ์โรมานอฟในรัสเซียเลย จึงเกิดการพังทลายของทั้ง 2 ราชวงศ์ในปี ค.ศ.1912 และค.ศ.1917 ไล่ถัดกันมา

200 กว่าปีนับแต่การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศสได้เกิดการปรับตัวของระบอบ

กษัตริย์ นิยมทั่วทั้งยุโรปแล้วนำรัฐทั้งหมดของภาคพื้นยุโรปและอเมริกาเข้าสู่ระบอบ สาธารณรัฐนิยมและระบอบรัฐสภานิยมที่กษัตริย์กับประชาชนอยู่ร่วมกันได้

แม้จะย่างเข้าศตวรรษที่ 20 แล้วแต่ก็กลับมิได้ให้บทเรียนแก่ราชวงศ์อียิปต์,อิหร่าน,เอธิโอเปีย แล่ล่าสุดคือเนปาล เลยจึงได้เกิดการพังทลายของราชวงศ์ดังที่กล่าวมานี้อีก




(อ่านต่อ)
http://dr-sunai.blogspot.com/2011/08/blog-post.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น