| |
ไม่ว่าจะเป็นการ "หลุด" ออกข่าวว่ามีการผลักดันร่างพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษผ่าน ครม.เมื่อวันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน
มิได้เป็นเรื่องบังเอิญ
แม้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง จะระบุว่า "พวกที่เอาไปพูดเป็นพวกไม่รักษาความลับ เป็นพวกรัฐมนตรีไม่มีสปิริต เป็นคนไม่ประสีประสา ไม่รู้เรื่องอยากได้หน้านักข่าว"
เช่นเดียวกับ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปยังจังหวัดสิงห์บุรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมกับ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทั่งไม่สามารถเดินทางกลับทันประชุม ครม.
ก็มิได้เป็นเรื่องบังเอิญ
"แม้รัฐบาลจะยังไม่รู้ว่าบทสรุปในขั้นสุดท้ายของร่างพระ ราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษจะเป็นอย่างไร แต่ที่แน่นอนอย่างที่สุดก็คือ รัฐบาลสามารถรับรู้และสัมผัสได้ถึงปฏิกิริยาสะท้อนกลับ
เป็นปฏิกิริยาเหมือนกับที่เกิดขึ้นก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549
นั่นก็คือ การออกมาคัดค้านและต่อต้านอย่างรุนแรงแข็งกร้าวของพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
1 ถือเป็นการทำลายระบบนิติรัฐ 1 เป็นการสร้างวิกฤตรอบใหม่
1 กระบวนการที่ทำมีพิรุธ ไม่โปร่งใส เป็นการแปลงหลักการสำคัญที่ปฏิบัติกันมาโดยตลอด โดยยกหลักการคนทำผิดต้องรับโทษ ต้องสำนึกผิดแล้วจึงให้อภัยโทษออกไป ถือเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก จะเป็นตัวการบ่อนทำลายกระบวนการยุติธรรมในประเทศ"
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321589876&grpid=01&catid=&subcatid=
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น