หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สรุปสถานการณ์แรงงานในระหว่างและหลังเกิดอุทกภัยและข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล

"กรรมกรทั้งผองล้วนเป็นพี่น้องกัน"

 

โดย พัชณีย์ คำหนัก
รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาฯ
เจ้าหน้าที่โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย

นการประชุมของเครือข่ายกู๊ดอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย [1] เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2554 ณ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม กรุงเทพฯ ได้มีการแลกเปลี่ยนถกเถียงเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาแรงงานในระหว่างและหลัง เกิดอุทกภัย โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์แรงงานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ 2) เพื่อหาทางออกที่ตอบสนองความต้องการแก่ผู้ใช้แรงงานที่ได้รับความเดือดร้อน อย่างแท้จริง โดยจะนำเสนอต่อหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และ 3) เพื่อรณรงค์สิทธิของผู้ใช้แรงงานที่พึงได้รับตามหลักการสิทธิมนุษยชน และมาตรฐานแรงงานสากล

การเจาะจงอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟนั้น เนื่องจากเกิดปัญหาเลิกจ้างคนงานอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนมาก จึงนำไปสู่การให้ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมดังกล่าวเพราะอุตสาหกรรมนี้เติบโต เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ ได้รับสิทธิพิเศษและการสนับสนุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องของไทยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2529 โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่ไทยกลายเป็นฐานการผลิตอันดับหนึ่งของโลก มีการสร้างงานประมาณ 100,000 กว่าอัตรา โดยมีการจ้างแรงงานหญิงมากกว่าแรงงานชาย ทั้งนี้มาจากการลงทุนของบรรษัทข้ามชาติที่มีชื่อเสียง เช่น เวสเทิร์นดิจิตอล ซีเกท ฮิตาชิ โซนี่ อาซาฮี ร่วมกับนักลงทุนไทย และมีเจ้าของคอมพิวเตอร์แบรนด์เนม ได้แก่ ฮิวเล็ต แพ็คการ์ด เดลล์ เข้ามาจ้างผลิต

(อ่าน)
http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38492

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น