การเดินทางของ“ลัทธิมาร์คซ์”ในสยาม
โดย ลมบ้าหมู
วันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917 (พ.ศ. 2460) ที่ใกล้ถึงนี้จะเป็นวันครบรอบ 93 ปี ของการปฏิวัติสังคมนิยมในประเทศรัสเซีย หรือที่ชาวสังคมนิยมยกให้เป็น “การเปิดศักราชใหม่ของโลก” ศักราชที่ ประชาชน คนงานธรรมดาหาเช้ากินค่ำ จะขึ้นมามีอำนาจในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเองและสังคม ความสำคัญของการปฏิวัติในครั้งนี้ได้ทำให้ชาวโลกได้ตระหนักถึงคุณค่า และพลังแห่งความสามัคคีของชนชั้นคนงาน ที่แสดงให้เห็นว่า คนงานและคนยากจน ที่เป็นประชากรส่วนมากของโลกเท่านั้นจะเป็นผู้ครองโลก ไม่ใช่อยู่ใต้ตีนของ “อำมาตย์นายทุน” ตลอดไป
“สยาม” ประเทศเล็ก ๆ ประเทศหนึ่งในอุษาคเนย์ ก็ได้รับอิทธิพลดังกล่าวจากการปฏิวัติใหญ่ในครั้งนั้นช่วงแรกของการลงหลัก ปักฐานลัทธิมาร์คซ์ในสยาม ตัวละครหลักในยุคนั้นมักจะเป็นชาวจีนและเวียดนาม ที่ลี้ภัยมาอยู่ในสยามและใช้โอกาสนี้ในการเผยแพร่อุดมการณ์ จากหลักฐานทางเอกสารของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (ช่วงปลาย พ.ศ. 2463)ได้ระบุว่า บุคคลแรกที่เคลื่อนไหวทางการเมืองโดยยึดถือลัทธิมาร์คซ์ในสยาม คือ ทำจีนซำหรือถ่ำจันซาม เขาได้จัดตั้งกลุ่มศึกษาขึ้น สำหรับเป็นสถานที่รวบรวมอั้งยี่กลุ่มต่างๆให้เป็นคณะเดียวกัน มีการจัดทำหนังสือพิมพ์จีน “คิวเซ็ง” พร้อมทั้งเปิดห้องสมุดที่มีชื่อว่า “เปลี่ยนแปลงประเทศจีน” แต่ไม่นานเขาก็ถูกรัฐบาลสยามเนรเทศ ด้วยข้อหาวิพากษ์วิจารณ์อังกฤษ ญี่ปุ่น และยกย่องระบบสาธารณรัฐกับบอลเชวิค
กิจกรรมการเคลื่อนไหวของฝ่ายผู้นิยมลัทธิมาร์คซ์ในสยามมีความคึกมากขึ้นใน ปลายปี พ.ศ. 2472 แม้จะมีการปราบปรามจับกุมจากรัฐบาลสยามอย่างหนัก แต่การเคลื่อนไหวของขบวนการคอมมิวนิสต์ในสยามก็หาได้หยุดชะงักลงไม่ จนเข้าสู่ปี พ.ศ. 2473 ในเดือนกันยายน ก็ได้มีการจัดตั้ง “คณะคอมมิวนิสต์สยาม” ขึ้น โดยมีโฮจิมินห์เป็นประธาน และมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนจีนกับเวียดนาม ประมาณปี พ.ศ. 2479 รัฐบาลสยามได้เข้าจับกุมครั้งใหญ่ องค์กรนี้จึงสลายตัวลง
(อ่านต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น