อาศัยอยู่ในสังคมไทย โปรดระวังอาการ "ตรรกะกนก"
โดย สุรพศ ทวีศักดิ์
"ถ้า 'อากง' เกิดมาไม่เคยขับรถ จะถูกตำรวจจับข้อหาขับรถย้อนศรได้อย่างไร รู้ทั้งรู้ว่าขับรถย้อนศรผิดกฎหมาย แต่ยังดันทุรังขับไป พอถูกตำรวจจับ แทนที่อากงจะรับสารภาพ กลับต่อสู้คดี ด้วยความย่ามใจว่ามีคนบางกลุ่มเคลื่อนไหวให้ขับรถย้อนศรไม่ผิดกฎหมาย"
กนก รัตน์วงศ์สกุล, "อากง", เนชั่นสุดสัปดาห์ 1021. (credit Karnt Thassanaphak)
ข้อโต้แย้ง
1. ถ้าอากงเคยขับรถก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะขับรถย้อนศร และถูกตำรวจจับข้อหาขับรถย้อนศร ถ้าเขาไม่ได้ขับรถย้อนศรจริง
2. การพิสูจน์ว่าอากงขับรถย้อนศร พิสูจน์ได้แค่ว่ารถคันนั้นเป็นรถของอากง แต่ไม่มีประจักษ์พยานว่าอากงขับรถคันนั้นเอง (กรณี “ขับรถชนหมอมุก” ยังต้องพิสูจน์ว่าใครคือ “คนขับตัวจริง”)
3. การต่อสู้คดีเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของจำเลยที่ต้องการยืนยันความบริสุทธิ์ของตนเอง กนกรู้ได้ไงว่าอากง “ย่ามใจ” เพราะมีคนบางกลุ่มสนับสนุน (คุณเป็นสื่อที่ใช้วิธี “นั่งทางใน” รู้ใจคนอื่นหรือไง?)
4. กนกกล่าวหาอย่างหน้าด้านๆว่า “มีคนบางกลุ่มเคลื่อนไหวให้ขับรถย้อนศรไม่ผิดกฎหมาย" เพราะที่จริงคนบางกลุ่มเขาเห็นความไม่ยุติธรรมในการใช้กฎหมายดังกล่าว ที่เพียงแค่ “ขับรถย้อนศร” (ตามที่กนกเปรียบเทียบซึ่งก็ใกล้เคียงกับการทำผิดด้วย “ข้อความ”) ต้องติดคุกถึง 20 ปี และติดคุกโดยไม่มีประจักษ์พยานว่าเจ้าของรถเป็นคนขับรถคันนั้นเอง
คำถามต่อ “สื่ออย่างกนก”
สื่อทำหน้าที่บนอุดมการณ์ที่ว่า “เสรีภาพสื่อคือเสรีภาพประชาชน” ใช่หรือไม่? หากใช่! เหตุใดสื่อจึงแสดงบทบาทเช่นนี้
1. ใช้เสรีภาพของสื่อเย้นเยาะประชาชนอย่างอากงที่ถูกลิดรอนเสรีภาพ และเสียดสีคนบางกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวปกป้องเสรีภาพและความยุติธรรม
2. การมี ม.112 ที่ยึดอุดมการณ์สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็น “อุดมการณ์เบื้องหลัง” ในการใช้กฎหมายมาตรานี้ของตำรวจ อัยการ และศาล ถือว่าเป็นกฎหมายและอุดมการณ์ทื่ขัดต่อ “หลักความยุติธรรม” (the principles of justice) ในระบอบประชาธิปไตยที่ต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักเสรีภาพและหลักความเสมอภาคหรือไม่? และ “การใช้เสรีภาพของสื่อ” ควรเป็นไปเพื่อปกป้องหลักเสรีภาพและหลักความเสมอภาคหรือไม่?
3. ถ้าการใช้เสรีภาพของสื่อไม่เป็นไปเพื่อปกป้องหลักเสรีภาพและหลักความเสมอภาคตามระบอบประชาธิปไตย สื่อควรบอกสังคมให้ชัดว่า...คุณไม่ได้ใช้เสรีภาพของคุณบนอุดมการณ์ “เสรีภาพสื่อคือเสรีภาพประชาชน” ...ไม่งั้นคุณก็เป็นได้แค่ “สื่อลวงโลก” หรือสื่อดัดจริตสอพลอผู้มีอำนาจไปวันๆ เพื่อความมั่นคงในอาชีพการงานและร่ำรวยของตัวคุณเองเท่านั้น!
กนก รัตน์วงศ์สกุล, "อากง", เนชั่นสุดสัปดาห์ 1021. (credit Karnt Thassanaphak)
ข้อโต้แย้ง
1. ถ้าอากงเคยขับรถก็ไม่ได้หมายควา
2. การพิสูจน์ว่าอากงขับรถย้อนศร พิสูจน์ได้แค่ว่ารถคันนั้นเป็นร
3. การต่อสู้คดีเป็นสิทธิโดยชอบธรร
4. กนกกล่าวหาอย่างหน้าด้านๆว่า “มีคนบางกลุ่มเคลื่อนไหวให้ขับร
คำถามต่อ “สื่ออย่างกนก”
สื่อทำหน้าที่บนอุดมการณ์ที่ว่า
1. ใช้เสรีภาพของสื่อเย้นเยาะประชา
2. การมี ม.112 ที่ยึดอุดมการณ์สมบูรณาญาสิทธิร
3. ถ้าการใช้เสรีภาพของสื่อไม่เป็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น