หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การเงินเรื่องโลกร้อน หรือหนี้ก้อนใหม่ของประเทศกำลังพัฒนา 

สาคร สงมา และ มนตรี จันทวงศ์
ภาคประชาชนไทยที่เข้าร่วมสังเกตการณ์ การประชุม COP17
วันที่ 1 ธันวาคม 2554
เมืองเดอร์เบิน ประเทศแอฟริกาใต้
 
 
 
ประเด็นที่น่าจับตามองของการประชุมภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติว่า ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 17 (COP17: Conference of the Parties) เรื่องหนึ่ง คือ เรื่องเงินๆ ทองๆ เกี่ยวกับปัญหาโลกร้อน โดยเฉพาะเงินที่จะมาสนับสนุนการลดโลกร้อนและการปรับตัวต่างๆ ในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายนั้น (หรือกลุ่มประเทศที่เรียกว่า G77 ซึ่งประเทศไทยอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย) แนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นคือแทนที่ประเทศพัฒนาแล้วจะให้การสนับสนุนทางด้าน การเงินอย่างตรงไปตรงมา กลับถูกบิดเบือนให้เป็นภาระหนี้ก้อนใหม่ของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งต้องไปกู้มาจากประเทศพัฒนาแล้ว
 
ในการประชุมคู่ขนานของเครือข่ายภาคประชาสังคม เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 ที่มหาวิทยาลัย Kwazulu-Natal (UKZN) ณ เมืองเดอร์เบิน การสัมมนาประเด็นเรื่อง Climate finance หรือ การเงินเรื่องโลกร้อน มีข้อสังเกตที่น่าสนใจดังนี้
 
การพัฒนาตั้งแต่ยุคปฎิวัติอุตสาหกรรม หรือเมื่อประมาณ 200 กว่าปีที่ผ่านมา ประเทศพัฒนาแล้วได้โหมใช้ทรัพยากรของโลกรวมถึงเชื้อเพลิงจากถ่านหินจำนวน มหาศาล ส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึงสามในสี่ของปริมาณที่ปล่อยจากทุก ประเทศในโลกรวมกัน ในขณะที่ประเทศเหล่านั้นมีประชากรเพียงหนึ่งในห้าของโลกเท่านั้น หรืออาจเปรียบเทียบได้ว่าสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อคนในประเทศพัฒนา แล้วมากกว่าคนในประเทศกำลังพัฒนาถึง 10 เท่า
 
หากพิจารณาตามหลักความเป็นธรรมว่าทุกคนในโลกนี้มีสิทธิเท่าทียมกันใน การเข้าถึงการพัฒนาและการปล่อยก๊าซฯ และเมื่อคำนึงถึงความสามารถของโลกในการรองรับการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก เราจะเห็นว่าบรรยากาศของโลกปัจจุบันเต็มไปด้วยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจาก การพัฒนาของประเทศพัฒนาแล้วในอดีตที่ผ่านมา หรือที่เรียกว่า historic emissions
 
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38158

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น