หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง หลักและอุดมการณ์ในร่างแก้ไข ม.112 ของนิติราษฎร์

โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง หลักและอุดมการณ์ในร่างแก้ไข ม.112 ของนิติราษฎร์
 


ประเด็นปัญหาของกฎหมายอาญามาตรา 112 สองประการสำคัญที่สุดคือ

1. การตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง ในการปิดกั้นการแสดงออกและแสดงความคิดเห็น และใช้สถาบันกษัตริย์เพื่อประโยชน์ทางการเมือง 
2. ความไม่ได้สัดส่วนกันระหว่างบทลงโทษและฐานการกระทำผิด

ประการแรก การตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการปิดกั้นการแสดงออกและแสดงความคิดเห็น 

ไม่เพียงปรากฏว่ามีการใช้ข้อกล่าวหานี้ในการเล่นงานคู่แข่งทางการเมืองใน หมู่นักการเมืองเท่านั้น  ในหมู่ประชาชนทั่วไปที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันทางการเมือง ก็มีการใช้กฎหมายดังกล่าวมาร้องทุกข์กล่าวโทษกันด้วยเช่นกัน  ดังกรณี I pad ผู้นิยมกลุ่มพันธมิตร แจ้งความ สุรพศ ทวีศักดิ์ นักเขียน-อาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งอภิปรายแสดงความคิดเห็นท้ายบทความ จะจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของสถาบันกษัตริย์ในสังคม-การเมืองไทยอย่างไร? ในเว็บไซต์ประชาไท  เป็นต้น

แม้ว่าจะมีการพยายามปฏิเสธจากฝ่ายต่าง ๆ เช่น นักการเมืองจากพรรคประชาธิปัตย์ ที่ยืนกรานว่าไม่มีการใช้กฎหมายดังกล่าวมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง แต่ก็ดูเป็นเพียงการพยายามแก้ตัวมากกว่า เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคหนึ่งที่หยิบยกเรื่องสถาบันกษัตริย์มาโจม ตีคู่แข่งทางการเมืองบ่อยครั้งที่สุด กรณี “ผังล้มเจ้า” ของ ศอฉ. ซึ่งมีนักการเมืองจากพรรคประชาธิปัตย์ 2 คน คือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุด ก็ปรากฏคำให้การในชั้นศาลของ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ในเวลาต่อมาว่า ขบวนการล้มเจ้าเป็นเพียงการขยายความไปเองของสื่อมวลชน ทั้งที่ในระหว่างที่นำเสนอนั้น ฝ่ายรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ และ ศอฉ. ประโคมข่าวเรื่องดังกล่าวไปทั่ว และพยายามโน้มน้าวสาธารณชนให้เชื่อว่ามีขบวนการดังกล่าวอยู่จริง

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/01/38643

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น