วาทกรรมอำพราง กรณี "ชายชุดดำ-ผังล้มเจ้า"
เรื่องของ "ผังล้มเจ้า" กำลังจะดำเนินไปอีหรอบเดียวกันกับเรื่องของ "ชายชุดดำ" เด่นชัดมากขึ้น
ในที่สุดแล้วก็อาจเสมอเป็นเพียง "วาทกรรม" ในการกล่าวหา เพื่อเล่นงานปรปักษ์ทางการเมือง
ถามว่าหาก "ชายชุดดำ" มีจริงทำไมจึงไม่มีการจับกุมมาลงโทษ
รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บริหารราชการแผ่นดินจากเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 จนถึงก่อนและหลังการเลือกตั้งทั่วไปเดือนกรกฎาคม 2554 เป็นเวลาเล็กน้อย รวมแล้วเป็นเวลา 1 ปี 2 เดือน เหตุใดจึงชำระสะสาง
แต่พอรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินในทางเป็นจริงหลังจากแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อเดือนสิงหาคม 2554
เดือนธันวาคม 2554 ก็สามารถส่งสำนวนคดีชันสูตรพลิกศพ 16 ศพ ให้พนักงานอัยการพิจารณาได้เพียง 5 เดือนเท่านั้น
เดือนมกราคม 2555 พนักงานสอบสวนการกระทำความผิดที่เกี่ยวเนื่องเกี่ยวกับคดีความมั่นคงแห่งรัฐ (คดีล้มเจ้า) ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ จะดำเนินการทำความกระจ่างในเรื่องผังล้มเจ้า
เสียงเอะอะโวยวายก็ดังขึ้นจากพรรคประชาธิปัตย์
วาทกรรมว่าด้วย "ผังล้มเจ้า" มีการนำเสนอผ่านที่ประชุมศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือ "ศอฉ." ในเดือนพฤษภาคม 2553
หลังจากนั้น นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ก็ฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรม
ผลปรากฏว่า มีการทำความเข้าใจระหว่างโจทก์และจำเลยระหว่างการพิจารณาของศาล โดยจำเลยซึ่งทำหน้าที่แถลงเรื่องนี้ยอมรับในความผิดพลาดคลาดเคลื่อน
เรื่องจึงยุติและเป็นที่พอใจของโจทก์
แม้ราย ละเอียดของเรื่องทั้งหมดศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) จะมอบให้เป็นคดีในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ แต่ก็เหมือนกับคดีอื่นๆ อันเนื่องแต่สถานการณ์เมื่อเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 คือ ไม่มีความคืบหน้า
กระทั่ง เปลี่ยนผ่านจากรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มาเป็นรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั่นแหละจึงมีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว เป็นการขยับขับเคลื่อนเพื่อทำความกระจ่าง
เป็นการขยับขับเคลื่อนเหมือนกับการทำหน้าที่ของคณะกรรมการ คอป. ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการปรองดองแห่งชาติในเรื่องของนักโทษการเมือง แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็หงุดหงิด ไม่พอใจ ทั้งๆ ที่ คอป.แต่งตั้งมากับมือของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
แถลงจาก พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนการกระทำความผิดที่เกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันกับคดี ความมั่นคงแห่งรัฐ (คดีล้มเจ้า) มีความแจ่มชัด
"แม้ จะผ่านมานานกว่า 1 ปี แต่การดำเนินคดีความผิดตามแผนผัง ศอฉ. ยังไม่คืบหน้าและไม่ทราบที่มาที่ไปของรายชื่อที่ปรากฏอยู่ในผัง หรือผู้เขียนผังขึ้นมาว่า ใช้หลักฐานและเหตุผลใดนำไปสู่การเชื่อมโยงและระบุชื่อบุคคล"
ดังนั้น จึงมีความคิดจะทำหนังสือเชิญ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งเคยเป็นผู้อำนวยการ ศอฉ.มาให้ปากคำ
แต่ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เห็นว่า
"ผม ได้ส่งเรื่องกลับไปโดยยังไม่ได้ลงนามเพราะเห็นว่ายังไม่จำ เป็นต้องเรียก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แต่เห็นควรเรียก นายถวิล เปลี่ยนศรี ในฐานะเลขานุการ ศอฉ. มาให้ปากคำก่อนเพราะมีหน้าที่โดยตรงและรับรู้ข้อมูลทุกอย่าง"
เท่านั้นเอง
เท่านั้น เองก็ทำให้ภายในพรรคประชาธิปัตย์เกิดความปั่นป่วน หงุดหงิดต่อพนักงานสอบสวนการกระทำความผิดที่เกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันกับคดี ความมั่นคงแห่งรัฐ (คดีล้มเจ้า) ทั้งๆ ที่เป้าหมายของพนักงานสอบสวนก็เพียงเพื่อความกระจ่างมากยิ่งขึ้น
เส้นทางของ "ผังล้มเจ้า" จึงทำท่าว่าจะดำเนินไปเช่นเดียวกับวาทกรรมว่าด้วย "ชายชุดดำ"
นั่นก็คือ เสมอเป็นเพียงการหยิบยกขึ้นมาลอยๆ เหมือนกับสถานการณ์ก่อนรัฐประหาร 2490 ที่บางพรรคการเมืองส่งคนไปร้องตะโกนในโรงภาพยนตร์กล่าวหาว่า
"ปรีดีฆ่าในหลวง"
(ที่มา)หน้า 3 มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 7 ม.ค. 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น