ที่สุดแห่งวิวาทะปี 2554 ประมวลกม.อาญา "ม.112" อนุรักษ์ vs. ปฏิรูป ? และ "อากง" อีกหลายคน
ต้องยอมรับว่าในรอบปี 2554 ที่ผ่านมา (หรืออาจรวมทั้ง 5 ปีหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549)
คดี, ผู้ต้องหา และผู้ถูกตัดสินลงโทษว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มีจำนวนเพิ่มขึ้นสูงอย่างเห็นได้ชัด
ท่ามกลางกระแสร้อนแรงของความขัดแย้งเปราะบางทางการเมือง และการปะทะกันอย่างหนักหน่วงระหว่างชุด "คุณค่า-ความเชื่อ" อันแตกต่างหลากหลาย
คนจำนวนไม่น้อยเห็นว่า เราพึง "ป้องกัน" มิให้ "สถาบันสำคัญยิ่ง" ของประเทศ ถูกดึงลงมาใช้เป็น "เครื่องมือ" ที่ข้องเกี่ยวพัวพันกับความขัดแย้งทางการเมือง
พวกเขาเห็นว่า จำนวนคดีจากกฎหมายอาญา ม.112 ที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากจะทำให้ประเทศไทยถูกตั้งคำถามเรื่อง "หลักสิทธิมนุษยชน" แล้ว ยังกำลังแสดงให้เห็นถึง "กลไกการป้องกันสถาบัน" ซึ่งเริ่มขาดตกบกพร่อง
ขณะที่อีกหลายคน ยังคงยืนยันถึงจุดยืนในการ "พิทักษ์" สถาบันมิให้ถูกทำลาย โดยยืนกรานว่า กฎหมายมาตราดังกล่าวมิได้มีปัญหาในตัวของมันเองแต่อย่างใด ตามลักษณะเฉพาะที่ไม่มีใครเหมือนของสังคมไทย
บรรดาผู้ต้องหา-ผู้ถูกลงโทษซึ่งมีมากขึ้นต่างหาก ที่เป็นปัญหา
นำมาสู่ประเด็นวิวาทะเรื่องประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
ในทางรูปธรรม กระแสคลื่นความคิดเห็นที่มีต่อเรื่องม.112 อาจสามารถถูกจำแนกแยกแยะออกได้มากกว่า 2 ประเภท
ผู้นำกองทัพ, นักการเมือง "รุ่นเก๋า" ส่วนใหญ่ และรอยัลลิสต์อาวุโส ผู้มากประสบการณ์-ความรู้ส่วนหนึ่ง แสดงท่าทีคัดค้านหัวชนฝาไม่ให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายมาตรานี้
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1325507579&grpid=01&catid=&subcatid=
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น