นักปรัชญาชายขอบ: ยิ่งกว่า ม.112
โดยสุรพศ ทวีศักดิ์
มีเรื่องที่ผมพบเห็นในวันนี้แล้วรู้สึกสะเทือนใจอย่างมาก ทำให้ผมอดที่จะเขียนอะไรออกมาไม่ได้ เรื่องแรก ช่วงเช้าผมได้เห็นสเตตัสในเฟซบุ๊คของอดีตนักศึกษาที่ผมเคยสอน มีลิงค์ภาพของอาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล จาก นสพ.ไทยโพสต์ และมีข้อความที่เขาพิมพ์ด่าแรงมาก และเมื่อดูความเห็นอื่นๆ ก็ล้วนแต่เข้ามารุมด่า บางความเห็นถึงกับเรียกร้องให้มีการทำร้าย อ.ปิยบุตร เลยด้วยซ้ำ
อีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องที่นักศึกษาชั้นปี 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นามแฝง “ก้านธูป” ถูกตำรวจออกหมายเรียกในความผิดตาม ม.112 ผมทราบมาว่าเรื่องที่ถูกแจ้งความเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในปี 2553 ซึ่งเธอเองก็ได้รับผลกระทบมามากแล้วจากการที่มหาวิทยาลัยสองแห่งปฏิเสธที่จะ รับเข้าเป็นนักศึกษา ล่าสุดช่วงส่งท้ายปีเก่า ASTV ผู้จัดการก็นำเรื่องราวและข้อมูลส่วนตัวของเธอมาตีแผ่ประจานโดยเปิดเผยชื่อ จริง และแสดงความเห็นเชิงตำหนิที่ธรรมศาสตร์รับเธอเป็นนักศึกษา
ผมกำลังพูดถึง “อันตราย” หรือ “สิ่งที่น่ากลัว” กว่า ม.112
เพราะลำพัง ม.112 หากผู้แจ้งความและระบบยุติธรรมใช้ดุลยพินิจดำเนินการตรงไปตรงมาตาม “ความหมาย” จริงๆ ของคำว่า “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้าย” ก็ยังไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวเกินไปนัก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในบรรยากาศของการล่าแม่มดและระบบยุติธรรมเวลานี้คือ เราไม่สามารถจะเห็นการ “แยกแยะ” อย่างชัดเจนว่า อะไรคือหมิ่นประมาท ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้าย อะไรคือการแสดงอารมณ์ความรู้สึก หรือ “เกรียน” แบบเด็กๆ อะไรคือการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตเพื่อประโยชน์สาธารณะ
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/01/38583
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น