ยุติการทำกำไรของธุรกิจ รพ.เอกชนบนความเจ็บป่วยของประชาชน บทเรียนจากเบลเยียม
สุขภาพและความเจ็บป่วย ต้องไม่ใช่สินค้าเพื่อแสวงหากำไร หลักการนี้เป็นหลักสากล แต่กำลังเลอะเลือนเพราะระบบทุนนิยมสามานย์
ทิศทางของการพัฒนาสำหรับประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยระบบทุนรวมทั้งประเทศไทย คือ การกระจายอำนาจ การลดขนาดของภาครัฐ การส่งเสริมภาคเอกชน ซึ่งเป็นหลักการใหญ่ในเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคม
แต่สำหรับสุขภาพและความเจ็บป่วย การกระจายอำนาจและการส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนต้องมีลักษณะพิเศษ เพราะสุขภาพและความเจ็บป่วยเป็นเรื่องมนุษยธรรม ไม่ใช่สินค้า ไม่ใช่การค้ากำไรจนเสมือนการทำนาบนหลังคนหรือการทำเงินบนความป่วยไข้ของ เพื่อนมนุษย์
บทเรียนจากประเทศเบลเยียมนั้นสะท้อนการจัดการที่น่าสนใจ บนความสมดุลระหว่างการค้าเสรีแบบทุนนิยมและการดูแลสิทธิพื้นฐานในการเข้าถึง บริการด้านสุขภาพ
ในปัจจุบันนี้ประเทศทุนนิยมเต็มรูปแบบเช่นประเทศเบลเยียมนั้น ดูแลสุขภาพของประชาชนด้วยสองระบบสำคัญคือ ระบบคลินิกแพทย์เอกชน และระบบโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร
ระบบคลินิกแพทย์เอกชนก็เหมือนกับคลินิกแพทย์ในประเทศไทยที่แพทย์มักจะมา เปิดคลินิกในช่วงเย็น แต่ที่นี่เขาเป็นแพทย์คลินิกเต็มเวลา ประชาชนที่เจ็บป่วยสามารถโทรศัพท์มานัดและมาหาตามเวลานัดได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็จะเลือกไปหาคลินิกใกล้บ้าน ไปหาหมอคนเดิมที่รู้จักผู้ป่วยและครอบครัวเป็นอย่างดี จนกลายเป็นระบบแพทย์ประจำครอบครัวขึ้นมา เป็นระบบบริการด่านหน้าหรือระบบบริการปฐมภูมิ
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/01/38925
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น