หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สหภาพแรงงานน่าจะเป็นทางออกของแรงงานไทย จริงหรือ?

สหภาพแรงงานน่าจะเป็นทางออกของแรงงานไทย จริงหรือ?

 


 


ภาพ:วันกรรมกร1.JPG

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ในขณะที่ราคาสินค้าทุกอย่างถีบตัวสูงขึ้นแต่ค่าจ้างของคนงานกลับยังคงเดิม เมื่อมีรายจ่ายที่มากขึ้น ในหนึ่งวันเกือบทั้งชีวิตของเขาเหล่านั้นใช้เวลาไปกับการทำงานไม่น้อยกว่า 12-15 ชั่วโมง เพื่อที่จะหารายได้ให้เพียงพอกับรายจ่ายที่รออยู่ข้างหน้า เมื่อเขาอยู่ในโรงงานเขาก็ถูกปฏิบัติเยื่องทาส ความไม่จริงจังต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐรวมกับความต้องการ กำไรสูงสุดของลัทธิทุนนิยม ทำให้ชนชั้นผู้ใช้แรงงานถูกเอาเปรียบกดขี่ขูดรีดอย่างหนักหน่วง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนงานที่เป็นลูกจ้างเหมาค่าแรงจะถูกเอาเปรียบและกดขี่ เป็นอย่างมาก เสมือนว่าเขาเหล่านั้นไม่ใช่คนไทยเช่นเดียวกับเรา ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ฟองสบู่แตกในปี ๒๕๓๙-๒๕๔๐ ทำให้เกิดการปรับตัวของผู้ประกอบการและนำไปสู่การออกกฎหมายให้นายจ้างสามารถ จ้างแรงงานในระบบเหมาค่าแรงได้ บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตราที่ ๕ โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการรับประกันความเสี่ยงให้กับนายทุน และต่อมาลูกจ้างก็พยายามที่จะขอแก้ไขเพื่อให้การจ้างงานนั้นมีความมั่นคง ยิ่งขึ้น จนนำไปสู่การแก้ไข พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๑ ฉบับที่ ๒ มาตราที่ ๑๑/๑ ซึงมีนัยยะที่สำคัญ คือ “ให้ลูกจ้างเหมาค่าแรงได้รับค่าจ้างสวัสดิการอย่างเป็นธรรมและไม่เลือก ปฏิบัติเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ” ในปัจจุบันก็ยังถกเถียงกันไม่จบว่าค่าจ้างที่ได้รับอยู่ในปัจจุบันนั้นมัน เป็นธรรมหรือยัง ?


(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/02/39171

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น