หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คุยกับนักปรัชญาชายขอบ ว่าด้วยความดีที่ไม่หลากหลาย

คุยกับนักปรัชญาชายขอบ ว่าด้วยความดีที่ไม่หลากหลาย

 

บทสนทนาใต้ร่มพุทธศาสนาในสังคมไทยในฐานะเครื่องมือทางการเมืองที่ถูก อธิบายว่าปลอดพ้นจากการเมือง “ปัจจุบันเราใช้ธรรมะเป็น ‘วาทกรรม’ เพื่อตอบสนองจุดประสงค์อื่นๆ เช่น ยกย่องสถานะศักดิ์สิทธิ์ทางชนชั้น ใช้อ้างในการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อยกตัวเอง พวกตัวเองให้สูงส่งแล้วกดอีกฝ่ายให้ต่ำลง”...

 

ประชาไทคุยกับสุรพศ ทวีศักดิ์ หรือ “นักปรัชญาชายขอบ” ในฐานะที่เป็นนักวิชาการด้านปรัชญาศาสนา ซึ่งวิพากษ์บทบาทพระสงฆ์ในทางสังคมการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง เราถามเขาในหลายๆ คำถามที่คาใจเกี่ยวกับบทบาทของพุทธศาสนาและคำสอนแบบพุทธๆ ในสังคมไทยซึ่งลักลั่นอิหลักอิเหลื่อในการอ้างอิงมาใช้รองรับความชอบธรรมใน ทางการเมือง แต่ขณะเดียวกันกลับถูกมองว่าบริสุทธิ์หลุดพ้นจากการเมือง

ตกลงว่าศาสนาพุทธสอนให้คนเป็นคนดีหรือไม่
อยู่ที่เราจะนิยาม “คนดี” ว่าอย่างไร ในทางจริยธรรมคนดีมีความสัมพันธ์กับความดี แต่ “ความดี” มันมีสองความหมายคือ 1) คุณธรรม หมายถึงคุณสมบัติที่ดีบางอย่างที่เราต้องสร้างขึ้นเป็นลักษณะนิสัยของตนเอง เช่น ความมีปัญญา ความกล้าหาญ ความอดทน ความเสียสละ การมีจิตใจที่รักความยุติธรรม

2) จริยธรรม คือหลักการ หรือกฎที่คนเราพึงยึดถือปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งมีหลากหลาย เช่น หลักจริยธรรมของศาสนาต่างๆ หลักจริยธรรมสากลคือ หลักสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ความยุติธรรม

จะเห็นว่าคุณธรรมเป็นเรื่องที่แต่ละคนจะสร้างขึ้นในตัวเอง แต่จริยธรรมเป็นหลักการในการอยู่ร่วมกัน หลักสิทธิมนุษยชนหรือกติกาในสังคมประชาธิปไตยก็สร้างขึ้นจากการยอมรับคุณค่า ตามหลักจริยธรรมสากล

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/02/39187

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น