หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วาทกรรม “ความขัดแย้ง”

วาทกรรม “ความขัดแย้ง”

 

 

โดยนักปรัชญาชายขอบ

 

จริงๆ แล้ว ปัญหาสังคมไทยเวลานี้ไม่ได้อยู่ที่ว่า ความขัดแย้งตามที่เป็นจริงเป็นปัญหาที่ยากเกินกว่าจะแก้ไขได้ แต่อยู่ที่มีการใช้ วาทกรรมความขัดแย้งเพื่อสกัดกั้น และ/หรือปิดทางการแก้ปัญหา


ตัวอย่างเช่น การอ้างเรื่องความขัดแย้งและความรุนแรงที่ “คาดว่า” จะเกิดขึ้น เพื่อ “ปิดพื้นที่” ในธรรมศาสตร์ไม่ให้มีการเคลื่อนไหวแก้ ม.112 มหาวิทยาลัยมหาสารคามห้ามใช้พื้นที่อภิปรายปัญหา ม.112 การที่ ผบ.ทบ.และคุณเฉลิม อยู่บำรุง พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ออกมาประสานเสียงให้นิติราษฎร์หยุดเคลื่อนไหวรณรงค์แก้ ม.112 (ที่จริงเป็นบทบาทของ ครก.112) โดยอ้างว่า จะเกิดความขัดแย้งทางสังคม หรือทหารอาจจะหมดความอดทน

แล้วยังมีกรณีอื่นๆ อีก เช่น ประชาธิปัตย์คัดค้านการเยียวยาผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ พิการจากการสลายการชุมนุมทางการเมือง คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยข้ออ้างที่ว่า จะก่อให้เกิด “ความขัดแย้งรอบใหม่” เป็นต้น

น่าสังเกตว่า “ความขัดแย้ง” ที่อ้างถึง คือความขัดแย้งที่ “คาดว่า” จะเกิดขึ้น ฉะนั้น ความขัดแย้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นดังกล่าวมันจึงเป็น “วาทกรรม” (discourse) ที่ถูกนำมาใช้เพื่อเป้าหมายทางการเมือง นั่นคือเพื่อยุติข้อเสนอแก้ ม.112 และข้อเสนอลบล้างผลพวกรัฐประหารของนิติราษฎร์ และยุติการเยียวยา การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือการดำเนินการใดๆ ของฝ่ายตรงข้ามที่ขัดแย้งกับความคิดเห็น จุดยืนทางการเมือง และ/หรือที่จะกระทบต่อสถานะ อำนาจ ผลประโยชน์ และโอกาสทางการเมืองของฝ่ายตน

 

(อ่านต่อ) 

http://www.prachatai.com/journal/2012/02/39165

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น