หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

50 ปีการประหารชีวิตฯ - สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

 


 50 ปีการประหารชีวิต 17 กุมภาพันธ์ 2498

โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

เผยแพร่ครั้งแรกใน นิตยสารฟ้าเดียวกัน

เช้า มืดของวันพฤหัสบดีที่ 17 2498 นักโทษชายที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำกลางบางขวาง 3 คน ได้ถูกนำตัวไปยังหลักประหารของเรือนจำ นี่ไม่ใช่การประหารชีวิตธรรดา ๆ เพราะผู้ถูกประหารทั้งสาม คือ เฉลียว ปทุมรส ชิต สิงหเสนี และบุศย์ ปัทมศริน ผู้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนลอบปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 หรือเกือบ 9 ปีก่อนหน้านั้น

การ สวรรคตของในหลวงอนันท์ เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์สังคมและการเมืองไทย ถ้าเราไม่มองว่าสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ต้อง เกิดขึ้นเช่นนั้นเสมอไป เมื่อเปรียบเทียบกับความเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดสิ่งอื่นหรือในแบบอื่น เราก็จะเห็นผลสะเทือนของกรณีสวรรคว่ามหาศาลเพียงใด พูดง่าย ๆ คือ ลองคิดว่า "หากไม่เกิดกรณีสวรรคต..." (ในบรรดาความเป็นไปได้ต่าง ๆ ที่อาจจะตาม มาจากการไม่เกิดกรณีสวรรคต คือการสถาปนาอย่างมั่นคงของรัฐบาลพลเรือนในประชาธิปไตยรัฐสภา เป็นต้น) มองในแง่นี้อาจกล่าวได้ว่า ไม่มีกรณีใดในประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะขัดแย้งกันเอง (paradox) ระหว่างความสำคัญอันใหญ่หลวง กับ การเงียบงันไม่พูดถึง มากเท่ากับกรณีสวรรคตอีกแล้ว กรณีสวรรคตเป็นจุดสูงสุดของหัวข้อที่พูดไม่ได้ (ultimate tabooed subject)

เกี่ยว กับประเด็นนี้ ในทัศนะของผม ไม่เป็นความจริงทั้งหมดที่ว่า เรื่องเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ไม่สามารถพูดได้ในสังคมไทย ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่า ไม่มีกรณีใดเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ก่อนกรณีสวรรคตที่เป็นหัวข้อต้องห้ามในลักษณะที่กรณีสวรรคตเป็น ผมขอเสนอว่า อันที่จริงภาวะที่กลายเป็นหัวข้อที่พูดไม่ได้ของกรณีสวรรคต ก็ไม่ไช่สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นเสมอไป แต่เป็นผลของบริบททางประวัติศาสตร์ คือสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ในขณะที่เกิดกรณีสวรรคตขึ้น น่าคิดว่า หากเหตุการณ์อย่างกรณีสวรรคตเกิดขึ้นในต้นทวรรษ 2480 เมื่อคณะราษฏรยังมีความเข้มแข็งรวมหมู่ (collective political strength) สูงสุดไม่มีศัตรูคู่แข่งที่สามารถท้าทายได้ (เพราะติดคุกหรือลี้ภัยหมด) และสามารถที่จะใช้ความเข้มแข็งนี้มารับมือกับเรื่องนี้ร่วมกัน (แบบเดียวกับศาลพิเศษ 2482 ที่ในทางปฏิบัติวินิจฉัยว่ารัชกาลที่ 7 เป็นกบฎด้วยการบ่อนทำลายระบบใหม่และช่วยเหลือกบฎบวรเดช1) เหตุการที่ตามมาคงจะเป็นคนละอย่าง และกรณีสวรรคตก็อาจจะไม่ได้มีสถานะดังที่เป็นอยู่ แต่ในความเป็นจริง บริบทของการเกิดกรณีนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง (การสิ้นสุดอำนาจของคณะราษฏร การแตกหักระหว่างพิบูลกับปรีดี และการเริ่มกลับมามีบทบาทของกลุ่มที่เสียอำนาจไปเมื่อ 2475) กรณีสวรรคตจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นและสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่สร้างจารีตการ พูดเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ไม่ได้ขึ้นมา

ใน ความเงียบเรื่องนี้ ผู้ที่ได้รับผลโดยตรงที่สุดก็คือ ผู้ที่ถูกประหารชีวิตไปเมื่อ 50 ปีก่อนทั้ง 3 คนนั่นเอง ในแง่หนึ่ง การรณรงค์เพื่อกู้ชื่อปรีดีจากการถูกใส่ความกรณีสวรรคตซึ่งสุพจน์ ด่านตระกูล เป็นผู้บุกเบิกตั้งแต่ทศวรรษ 2510 และหลังทศวรรษ 2520 ได้ประสบความสำเร็จ (คือ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าปรีดีไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสวรรคต) เป็นสิ่งชอบธรรม แต่ถึงที่สุดแล้ว สามารถอภิปรายได้ว่า ปรีดี พนมยงค์มีบทบาทต่อการเมืองไทยสมัยใหม่มากเกินกว่าที่จะกลบชื่อเขาได้ตลอดไป และปรีดีเองขณะที่ต้องสูญเสียอำนาจทางการเมืองและเสียชื่อเสียงเป็นเวลาหลาย ปี ก็ไม่ได้สูญเสียอย่างถึงที่สุด คือชีวิต ต่างกับผู้ถูกประหารทั้งสาม ลักษณะ "ให้ความสำคัญกับชนชั้นนำ" (elitist) ของสังคมไทยแสดงออกแม้ในกรณีนี้ (ผมตระหนักว่า การรณรงค์กู้ชื่อให้เฉพาะปรีดี มีประเด็นมากกว่าเรื่อง elitist นี้ แต่ลักษณะนี้เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์อย่างไม่ต้องสงสัย)

ใน ประเทศไทย ไม่มีประเพณีการแก้คำตัดสินที่ผิดของศาลฏีกา หรือรื้อฟื้นชื่อเสียงอย่างเป็นทางการให้กับผู้ที่ถูกตัดสินไปผิด ๆ โดยเฉพาะถ้าคดีผ่านไปหลาย 10 ปี อย่างกรณีนี้ แต่การที่เฉลียว ชิต และบุศย์ ถูกตัดสินว่ามีส่วนในการลอบปลงพระชนม์ เป็นการตัดสินที่ผิดอย่างแน่นอน ในปี 2523 ปรีดีได้ตีพิมพ์สำนวนคำฟ้องที่เขาเขียนขึ้นในคดีที่เขาเป็นโจทก์ฟ้องหมิ่น ประมาทชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ กับพวก โดยให้ชื่อหนังสือที่ตีพิมพ์ว่า คำตัดสินใหม่ กรณีสวรรคต ร. 8 แน่นอนว่า นั่นเป็นการเรียกเกินจริง เพราะแม้แต่คำพิพากษาของศาลแพ่งในคดีนั้นเอง ก็เพียงแต่รับรองสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างปรีดีกับจำเลยเท่านั้น "คำตัดสินใหม่" ดังกล่าวจึงเป็นเพียงสำนวนคำฟ้องของปรีดีเอง อย่างไรก็ตามในสำนวนคำฟ้องนั้น ปรีดีได้เสนอประเด็นที่ฟังขึ้นว่าคำพิพากษาคดีสวรรคตควรถือเป็นโมฆะ เพราะทั้งศาลชั้นต้นและศาลฏีกา ได้ทำผิดกระบวนการพิจารณาคดีตามกฎหมาย2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น