หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ม.112กับเกมแห่งอำนาจ

ม.112กับเกมแห่งอำนาจ


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

สิ่งที่น่าสนใจไม่น้อยไปกว่าข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ให้ แก้ไขเพิ่มเติม ม.112 ก็คือปฏิกิริยาต่อข้อเสนอนั้น แต่น่าเสียดายที่เราไม่อาจหยั่งรู้ความเห็นของเสียงเงียบ ซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนได้ แม้แต่ในหมู่ผู้สนับสนุนอีกไม่น้อยก็คงเลือกจะอยู่กับเสียงเงียบ ดังนั้น เราจึงได้ยินแต่เสียงของฝ่ายต่อต้านระงมไปหมด จนกระทั่งมีการตีความไปเลยว่านั่นคือเสียงส่วนใหญ่ของพลเมืองไทย

แต่เสียงของฝ่ายต่อต้านคัดค้านนั้นเอง ก็น่าสนใจมาก เพราะมันบอกอะไรบางอย่างให้เรารู้เกี่ยวกับอำนาจในสังคมไทย

คน ที่คัดค้านต่อต้านอย่างเป็นส่วนตัว เช่นคุยกับเมียหรือเพื่อน จะมีความเห็นอย่างไรนั้น ผมขอไม่กล่าวถึง อย่างน้อยก็เพราะผมไม่รู้ว่าเขาพูดว่าอะไร แต่คนที่คัดค้านต่อต้าน "เป็นสาธารณะ" เช่นลงข้อความในเครือข่ายออนไลน์, นัดหมายให้มาชุมนุม, ออกแถลงการณ์, เขียนบทความลงสื่อ ฯลฯ นี่ต่างหากล่ะครับที่น่าสนใจมากกว่า

เพราะการที่เขาทำ "เป็นสาธารณะ" ก็ชี้ให้เห็นอยู่แล้วว่า เขาอยากให้ความเห็นของเขานั้น เป็นที่ยอมรับในวงกว้างกว่าลูกเมียของเขา

ตาม ปกติ ในสถานการณ์ที่เรากำลังหาพวกในหมู่คนกว้างขวาง ซึ่งเราไม่ได้รู้จักมักจี่เป็นส่วนตัวนั้น เราก็น่าจะเสนอความเห็น, ท่าที, และวิธีการ ที่เก็งว่าจะได้รับการฟังจากสาธารณชน จนถึงได้รับการสนับสนุนเพราะสาธารณชนเห็นด้วย เช่นชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของข้อเสนอนิติราษฎร์ (จะเป็นข้อบกพร่องในเชิงกฎหมาย, ในเชิงวัฒนธรรม, ในเชิงการเมือง หรืออื่นใดก็ตามที) ด้วยท่าทีซึ่งปราศจากความรุนแรง เพราะสาธา
รณชนในสังคมใดๆ ก็ตามย่อมประหวั่นท่าทีซึ่งใช้ความรุนแรงเป็นธรรมดา
  

 

(อ่านต่อ) 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1328530756&grpid=&catid=02&subcatid=0207

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น