หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ทฤษฏีการปฏิวัติถาวรของตรอทสกี้

ทฤษฏีการปฏิวัติถาวรของตรอทสกี้

 


ท่ามกลางการปฏิวัติ 1917 เลนิน เปลี่ยนใจใน “วิทยานิพนธ์ เมษายน 1917” โดยเสนอว่าการปฏิวัติที่กำลังจะเกิดขึ้นต้องนำไปสู่ขั้นตอนของสังคมนิยม ทันทีและนำโดยกรรมาชีพ ผ่านการสร้างรัฐกรรมาชีพ ซึ่งจะเห็นว่า เลนิน หันมาสนับสนุนจุดยืน “การปฏิวัติถาวร” ของ มาร์คซ์


โดย กองบรรณาธิการเลี้ยวซ้าย

คาร์ล มาร์คซ์ เสนอในปี 1850 (60 ปีหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส)ว่าความขัดแย้งหลักในสังคมเปลี่ยนไปจากความขัด แย้งระหว่างนายทุนกับขุนนาง ไปเป็นความขัดแย้งระหว่างกรรมาชีพกับชนชั้นปกครอง มาร์คซ์เขียนว่า...   

“ชน ชั้นกรรมาชีพเท่านั้นที่จะเป็นผู้ต่อสู้อย่างถึงที่สุดกับทุนนิยมจนได้รับ ชัยชนะ... และสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อชนชั้นกรรมาชีพเข้าใจผลประโยชน์ของชนชั้น ตัวเองอย่างชัดเจน โดยสร้างพรรคการเมืองอิสระของกรรมาชีพเอง และไม่หลงเชื่อคำแนะนำจากพวกนายทุนน้อยประชาธิปไตยตอแหลที่เสนอว่า กรรมาชีพไม่ต้องมีพรรคของตนเอง... คำขวัญของกรรมาชีพจะต้องเป็น ‘ปฏิวัติให้ถาวรไปเลย!’” [Marx, K & Engels, F (1981) “Collected Works Vol X” pp 280-287, London.]

ก่อนการปฏิวัติรัสเซียในปี 1917 เลนิน แสดงจุดยืนในหนังสือ “สองยุทธวิธีของสังคมนิยมประชาธิปไตย” ว่าการปฏิวัติที่กำลังจะเกิดต้องนำโดยชนชั้นกรรมาชีพที่ทำแนวร่วมกับชาวนา แต่ในขั้นตอนแรก เนื่องจากความล้าหลังของประเทศรัสเซียที่มีชาวนา 130 ล้านคน เมื่อเทียบกับกรรมาชีพแค่ 3 ล้านคน การปฏิวัติจะสถาปนาระบบประชาธิปไตยทุนนิยมก่อน โดยมีนายทุนเป็นชนชั้นปกครอง หลังจากนั้นกรรมาชีพจะค่อยๆทำการปฏิวัติไปสู่สังคมนิยมในภายหลัง
 
(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.com/2012/02/blog-post_5945.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น