นิธิ เอียวศรีวงศ์ : รัฐธรรมนูญ-จินตนาการใหม่
นิธิ เอียวศรีวงศ์ : รัฐธรรมนูญ-จินตนาการใหม่
บัดนี้ ก็ชัดอยู่แล้วว่า หากไม่มีการรัฐประหาร
อย่างไรเสียก็ต้องแก้รัฐธรรมนูญตามหลักการที่สภาได้เห็นชอบในการแก้ไข ม.291
สิ่งที่ควรทำก็คือ
ช่วยกันติดตามและจับตามองทั้งกระบวนการร่างและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ช่วยกันอภิปรายถกเถียงเรื่องเหล่านี้กันอย่างกว้างขวาง ดังนั้น
นับตั้งแต่บัดนี้
ผมจะขอเสนอความเห็นเกี่ยวกับการร่างและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเป็นระยะๆ
จนกว่าการลงประชามติจะได้ผ่านไปแล้ว
ทำไมจึงควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ไม่
ว่านักรัฐศาสตร์และนักกฎหมายจะอธิบายว่ารัฐธรรมนูญคืออะไรก็ตาม
แต่ว่ากันถึงที่สุดแล้ว
ผมคิดว่ารัฐธรรมนูญคือข้อตกลงแบ่งสรรอำนาจระหว่างกันของกลุ่มคนที่มีกำลังพอ
จะถือส่วนแบ่งของอำนาจในสังคมนั้นๆ (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
ชนชั้นนำและเครือข่าย)
แน่นอนว่าไม่มีรัฐธรรมนูญของประเทศใด
ที่มีรูปลักษณ์หยาบคายได้ถึงขนาดนั้น
การแบ่งสรรอำนาจกระทำในหลักการที่เชื่อกันว่ามีคุณค่าเป็นสากล เช่น
หลักความเสมอภาค โดยไม่ต้องระบุลงไปว่า คนผิวสี, ผู้หญิง, ชาวพื้นเมือง ฯลฯ
ไม่เกี่ยว เพียงแต่ข้อบัญญัติอื่นๆ
ทั้งในกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายระดับรองลงมา
รวมทั้งวิถีปฏิบัติที่สังคมยอมรับ
อาจไม่สอดคล้องกับหลักความเสมอภาคเลยก็ได้
ในสังคม "ทันสมัย"
นับตั้งแต่ได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ เป็นต้นมา
ชนชั้นนำและเครือข่ายปรับเปลี่ยนสัดส่วนของกำลังตนเองอยู่ตลอดเวลา
ทำให้การแบ่งสรรอำนาจไม่อาจดำรงอยู่ตายตัวเป็นเวลานานๆ เหมือนดังสมัยโบราณ
(เช่นสี่ร้อยกว่าปีในราชอาณาจักรอยุธยา เราใช้ "รัฐธรรมนูญ"
ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรอยู่ฉบับเดียว
แม้มีการแย่งชิงราชสมบัติกันอยู่เป็นประจำ) ด้วยเหตุดังนั้น
รัฐธรรมนูญที่ก้าวหน้าจึงเป็นรัฐธรรมนูญที่เปิดให้กลุ่มชนชั้นนำและเครือ
ข่าย สามารถใช้เป็นฐานในการปรับเปลี่ยนดุลแห่งอำนาจระหว่างกันได้
รวมทั้งเปิดให้กลุ่มใหม่ๆ ซึ่งมีกำลัง
พอจะผลักดันตัวเองเข้าไปอยู่ในกลุ่มชนชั้นนำและ/หรือเครือข่ายได้
เข้ามาแบ่งส่วนของอำนาจไปถือไว้บ้างด้วย
จึงไม่จำเป็นต้องร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ทุกๆ 10 ปี
การปรับดุลแห่งอำนาจไปอยู่ที่กฎหมายรองและแบบปฏิบัติอื่นๆ ไม่ใช่ที่การแก้รัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียว
แต่
รัฐธรรมนูญไทยไม่ใช่อย่างนั้น โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ 2550
เนื้อหาที่เป็นแก่นกลางของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ
ความพยายามจะจับให้การแบ่งสรรอำนาจในกลุ่มชนชั้นนำและเครือข่ายหยุดนิ่งกับ
ที่ ซ้ำยังเป็นการแบ่งสรรอำนาจที่ขาดความสมดุลในหลายด้าน
โดยยังไม่ต้องพูดถึงการเกิดขึ้นใหม่ของกลุ่มที่มีกำลังเพิ่มขึ้นในสังคมพอจะ
เรียกร้องส่วนแบ่งของอำนาจเพิ่มขึ้น
แม้แต่ในหมู่ชนชั้นนำและเครือข่ายที่มีอยู่เดิม
ก็ไม่อาจยอมรับการแบ่งสรรอำนาจที่ขาดความสมดุลได้ขนาดนั้น อย่างไรเสีย
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ดำรงอยู่ไม่ได้ในระยะยาวอยู่แล้ว
(อ่านต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น