หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช* : ประเทศไทยกับศาลอาญาระหว่างประเทศ

ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช* : ประเทศไทยกับศาลอาญาระหว่างประเทศ

 

 

บทนำ

อนุสนธิจากการที่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเพื่อไทยแถลงข่าวเกี่ยวกับการยื่นฟ้องต่อศาล อาญาระหว่างประเทศกรณี 91 ศพ โดยในเนื้อข่าวได้ปรากฏมีเนื้อหาว่าจากประเทศไทยได้ให้สัตยาบันธรรมนูญกรุง โรม พ.ศ.2543 โดยคณะรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ.2552 เรียบร้อยแล้วมีผลทำให้ประเทศไทยเป็นภาคีของศาลอาญาระหว่างประเทศเรียบร้อย แล้ว เนื่องจากเรื่องการฟ้องคดีต่อศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นเป็นเรื่องสำคัญและ เกี่ยวข้องกับประเด็นข้อกฎหมายระหว่างประเทศโดยตรงจึงสมควรอธิบายทั้ง "ข้อเท็จจริง" และ "ข้อกฎหมาย" เพื่อมิให้สาธารณชนเข้าใจคลาดเคลื่อนดังต่อไปนี้

ประการแรก ประเทศไทยยังมิได้เป็นภาคีธรรมนูญก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศหรือที่เรียก ว่าธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (The Rome Statute of the International Criminal Court:ICC) แต่อย่างใด ประเทศไทยได้ "ลงนาม" (Sign) อนุสัญญากรุงโรมเท่านั้นแต่ยังมิได้ให้ "สัตยาบัน" (Ratification) หรือให้ความยอมรับ หรือให้ความเห็นชอบแต่ประการใด ตามข้อบทของอนุสัญญากรุงโรมข้อที่ 126 ระบุว่า การมีผลบังคับใช้ของอนุสัญญาแก่รัฐนั้น รัฐสามารถแสดงเจตนาเข้าผูกพันพันธกรณีของอนุสัญญาได้ด้วยการให้สัตยาบัน หรือให้ความยอมรับ หรือให้ความเห็นชอบหรือภาคยานุวัติ ดังนั้น ลำพังการลงนามเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นภาคี อนุสัญญานี้แต่อย่างใด ข้อเท็จจริงในเรื่องการเป็นภาคีของประเทศไทยนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ หรือค้นหาไม่ยากเพราะสามารถตรวจสอบได้จากเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่าง ประเทศหรือข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1330954177&grpid=03&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น