ไทยจะมีวิกฤตคนชราจริงหรือ?
พวกนักการเมืองฝ่ายทุน และนักวิชาการฝ่ายขวาจากสำนักเสรีนิยมกลไกตลาด (neoliberal) ใน
ตะวันตก พูดมานานว่าในประเทศพัฒนามี “วิกฤตคนชรา”
เพื่อให้ความชอบธรรมกับการตัดสวัสดิการบำเหน็จบำนาญ
และบังคับให้คนงานทำงานนานขึ้นก่อนเกษียน
ข้ออ้างเท็จของพวกนี้คือการที่คนชรามีอายุยืนนานขึ้น
และการที่สัดส่วนคนในวัยทำงาน เมื่อเทียบกับคนเกษียนมีมากขึ้น ตอนนี้ในไทยดร.สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์ และดร.มัทนา พนานิรามัย จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)[1] “เตือน” ว่าคนทำงานในปัจจุบัน จะต้อง “ทำใจยอมรับการทำงานที่ยาวนานขึ้น”
และ
เขาเสนอว่าต้องเก็บออมให้เพียงพอต่อการใช้ตลอดชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ
พร้อมกันนั้นมีการกล่าวว่า ในไทยในปี๒๕๕๒
มีสัดส่วนวัยแรงงานที่สามารถเกื้อหนุนการดูแลผู้สูงอายุได้โดยเฉลี่ย
วัยแรงงาน 4 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน แต่ในอีก 30
ปีข้างหน้าจะเปลี่ยนเป็นวัยแรงงาน 1.6 คนต่อการดูแลผู้สูงอายุ 1 คน
ทางออกของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยนี้ คือ “ควร
ดำเนินการให้มีการบริโภคอย่างฉลาดและลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
ส่งเสริมให้มีรายได้จากการทำงานเพิ่มขึ้น
โดยส่งเสริมให้ทำงานในระบบมากขึ้นและได้รับการคุ้มครองแรงงานเพื่อให้ผู้สูง
อายุมีงานทำ มีรายได้ และมีการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนต่าง ๆ เพิ่มขึ้น
รวมทั้งส่งเสริมการออมเพื่อชราภาพมากขึ้น”
ซึ่งทั้งหมดที่ TDRI เสนอ
มานี้ เป็นการโยนภาระให้คนจน ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในไทย ต้องดูแลตนเอง
ทำงานนานขึ้น และต้องใช้แนวเศรษฐกิจพอเพียง
เพราะมีการมองว่าคนธรรมดาในปัจจุบันยากจนเพราะใช้จ่าย “ฟุ่มเฟือย”
(อ่านต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น