หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

“ศีลธรรมแบบเห็นแก่ตัว” ในพุทธศาสนาแบบไทยๆ

“ศีลธรรมแบบเห็นแก่ตัว” ในพุทธศาสนาแบบไทยๆ

 

 

โดยสุรพศ ทวีศักดิ์


ชาวพุทธแบบไทยๆ มักวิจารณ์ว่าแนวคิดเรื่องสิทธิเสรีภาพของตะวันตกเป็นแนวคิดแบบเห็นแก่ตัว เพราะก่อให้เกิด “ลัทธิปัจเจกชนนิยม” (individualism)ที่ให้คุณค่าสูงสุดกับสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลหรือเน้นความมี “ตัวตน” ของปัจเจกบุคคล

เมื่อมี “ตัวตน” ก็ยึดถือตัวตนจึงทำให้เกิดความเห็นแก่ตัวและเมื่อเห็นแก่ตัวก็ยึดถือผล ประโยชน์ส่วนตนในการตัดสินถูก-ผิดทางศีลธรรมคือถ้าการกระทำที่ก่อให้เกิด ประโยชน์แก่ตนเองก็บอกว่าเป็นการกระทำที่ดี
ดังที่เรามักเห็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองบ่นๆกันทำนองว่า “คนทุกวันนี้มันเห็นแก่ตัวเอะอะอะไรก็เรียกร้องสิทธิเสรีภาพแต่ไม่ถามบ้าง ว่าหน้าที่ของตนคืออะไรจะเอาแต่สิทธิเสรีภาพแต่ไม่ยอมทำหน้าที่”


และแล้วพวกเขาก็เทศนาต่อทันทีว่า “แนวคิดเรื่องสิทธิเสรีภาพอาจไม่เหมาะกับสังคมไทยเพราะทำให้คนเห็นแก่ตัวไม่ รู้จักหน้าที่สังคมไทยเรามีลักษณะพิเศษคือให้ความสำคัญกับหน้าที่มากกว่า สิทธิเสรีภาพเช่นหน้าที่ของพ่อแม่ครูอาจารย์หน้าที่ของลูกลูกศิษย์หน้าที่ ของผู้ปกครองผู้ใต้ปกครองหน้าที่ของทุกคนที่ต้องจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสน์กษัตริย์เป็นต้นถ้าแต่ละคนทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้องบ้านเมืองก็สงบสุข”

แต่อันที่จริงตามแนวคิดเรื่องสิทธิเสรีภาพของตะวันตกนั้นเราไม่สามารถแยก สิทธิเสรีภาพของเราออกมาจากสิทธิเสรีภาพของคนอื่นๆ แล้วให้ความหมายพิเศษปกป้องมันอย่างเป็นพิเศษเหนือสิทธิเสรีภาพของคนอื่นๆ ได้ หมายความว่าเมื่อเราพูดถึงสิทธิเสรีภาพของปัจเจกแต่ละคนเท่ากับพูดถึงสิทธิ เสรีภาพของปัจเจกบุคคลในฐานะที่เขาเป็น “มนุษย์” และความเป็นมนุษย์ของทุกคนย่อมเสมอภาคกันฉะนั้นสิทธิเสรีภาพที่ทุกคนมีภาย ใต้ระบบสังคม-การเมืองจึงต้องเป็นสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน

เราจึงไม่อาจใช้สิทธิเสรีภาพของตนเองโดยไม่เคารพสิทธิเสรีภาพของคนอื่นๆ และสิทธิเสรีภาพของเราจะมีได้ก็ต่อเมื่อได้รับการเคารพโดยคนอื่นๆ เช่นกันพูดง่ายๆ คือสิทธิเสรีภาพของแต่ละคนจะมีได้ก็เพราะว่าทุกคนมี “หน้าที่” เคารพสิทธิเสรีภาพของกันและกัน 
  
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/03/39798

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น