ปรองดองโดยประเด็น โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
ผมไม่ค่อยแปลกใจที่ความพยายามจะ "ปรองดอง"
ในประเทศไทยไม่ประสบความสำเร็จ
ร้ายไปกว่านั้นกลับฟื้นความขัดแย้งที่ซ่อนอยู่ข้างในให้ปรากฏชัดขึ้น
ผม
ไม่ทราบหรอกว่า คณะกรรมการที่ทำหน้าที่ "ปรองดอง" ไม่รู้จะกี่ชุดที่ผ่านมา
มี "วาระซ่อนเร้น" ทางการเมืองอะไร ซ้ำยังออกจะเชื่อด้วยว่า
ถึงรู้ไปก็ไม่มีประโยชน์ นอกจากทำให้เกิดความระแวงสงสัย
และกระตุ้นความขัดแย้งให้แรงขึ้นโดยไม่จำเป็น
เมื่อนึกถึงการปรองดอง
กรรมการทุกชุดที่ผ่านมา มักนึกถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นคู่ขัดแย้ง
และนี่คือเหตุผลที่ทำให้ผมไม่แปลกใจว่าความพยายามของกรรมการมักล้มเหลว
เพราะความขัดแย้งที่เกิดในประเทศไทยนั้น
ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ไม่ใช่เพราะนาย ก.ไม่ชอบนาย
ข. จึงได้เคลื่อนไหวเพื่อล้มล้างอำนาจของกันและกัน แต่ทั้งนาย ก.และนาย
ข.ต่างสามารถดึงประชาชนจำนวนมาก ให้เข้ามาร่วมเคลื่อนไหวได้
จนกลายเกิดเหตุร้ายแรงบ่อยครั้ง
เรื่องของเรื่องจึงเกินกว่าความบาดหมางส่วนบุคคล
และระงับความขัดแย้งด้วยวิธี "จับเข่าคุยกัน" ไม่ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องของนาย ก.และนาย ข.เท่านั้น
มีเข่าให้จับยุ่บยั่บไปหมด
ที่
น่าแปลกใจมากกว่า คือคณะกรรมการปรองดองชุดต่างๆ ไม่ค่อยให้ความสนใจกับ
"ประเด็น" ที่สังคมไทยขัดแย้งกันเอง "ประเด็น"
เหล่านี้ต่างหากที่น่าจะใช้กระบวนการทางสังคมเข้ามาเจรจาต่อรองกัน
ผมคิดว่าในกระบวนการเจรจาต่อรองซึ่งออกมาในรูปของการอภิปราย โต้เถียง
และข้อเสนอต่างๆ นั้น ประเด็นของความขัดแย้งจะชัดขึ้น
ในขณะเดียว
กัน หนทางประนีประนอมที่ทุกฝ่ายยอมรับได้จะปรากฏให้เห็นขึ้นมาพร้อมกัน
ผมจึงอยากเสนอ (โดยปราศจากการวิจัยรองรับ) ว่า
ประเด็นแห่งความขัดแย้งในสังคมไทยเวลานี้มีอะไรบ้าง
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1334585676&grpid=&catid=02&subcatid=0200
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น