หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

"สงกรานต์" ในมุมมอง "ชาญวิทย์ เกษตรศิริ - สุจิตต์ วงษ์เทศ"

"สงกรานต์" ในมุมมอง "ชาญวิทย์ เกษตรศิริ - สุจิตต์ วงษ์เทศ"

 

 












"สงกรานต์" (SANKRANTA) เป็นคำในภาษาสันสกฤต

แปลว่า "เคลื่อน" หรือ "เปลี่ยน" (ของดวงอาทิตย์ จากปีเก่า สู่ปีใหม่)


สงกรานต์เป็นวันหยุด "รัฐการ" ของรัฐทมิฬนาฎูในอินเดีย และศรีลังกา


สงกรานต์เป็นประเพณีทาง "ฮินดู-พราหมณ์" ของรัฐในเอเชียใต้

เช่น อัสสัม เบ็งกอล เคราลา มณีปุระ โอริสสา ปัญจาบ เนปาล บังคลาเทศ


ตลอดจนรัฐที่นับถือ "พุทธศาสนา"


เช่น พม่า กัมพูชา ลาว และไทยสยาม


สงกรานต์ คือ วาระส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่

เป็น "วัฒนธรรมร่วม" SHARED CULTURES


ของ "เอเชียใต้" ของ "อุษาคเนย์" ในเขตมรสุมเหนือ (ที่มักมีต้นตาลโตนด)


ไม่มีใครเป็น "เจ้าของ" ไม่มีใคร "ผูกขาด"


----------

สุจิตต์ วงษ์เทศ (เฟซบุ๊กส่วนตัว)

สาดน้ำสงกรานต์ "ประเพณีร่วม" ของอาเซียน


รดน้ำ, สาดน้ำ น่าจะเป็นประเพณีในศาสนาผีของชุมชนอุษาคเนย์มาแต่ดึกดำบรรพ์ แม้ไม่พบหลักฐานโดยตรง แต่ร่องรอยทางประเพณีพิธีกรรมก็เชื่อมโยงได้อย่างนั้น


ในพิธีเลี้ยงผีของชุมชนดั้งเดิมทั้งสุวรรณภูมิและอุษาคเนย์ ใช้น้ำทำความสะอาดเรือนและเครื่องมือทำมาหากินด้วยวิธีรด, ล้าง, สาด แล้วยังใช้อาบให้บรรพชนที่ตายไปแล้ว แต่มีกระดูกหรืออัฐิเหลือไว้บูชาเซ่นไหว้ตามประเพณีอุษาคเนย์ รวมทั้งอาบให้บรรพชนที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ปู่ย่าตายาย ฯลฯ


เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็สาดน้ำขึ้นหลังคาเรือน ตลอดจนต้นไม้ใบหญ้าที่อยู่โดยรอบ
เป็นสัญลักษณ์ของการชำระล้างขับไล่สิ่งไม่ดีให้หมดสิ้นไป ยังมีเหลืออยู่ในประเพณีของเผ่าพันธุ์ต่างๆ แล้วเคยมีอยู่ในราชสำนักของบ้านเมืองในหุบเขาทางล้านนาและล้านช้าง


น้ำในพิธีกรรมยังมีสืบเนื่องไม่ขาดสาย


ต่อมาเมื่อสงกรานต์จากอินเดียแพร่ถึงอุษาคเนย์ คนพื้นเมืองก็ผนวกพิธีเลี้ยงผีให้เข้ากับสงกรานต์ แล้วกลายเป็นเล่นสาดน้ำสงกรานต์


สงกรานต์ ขึ้นปีใหม่ดั้งเดิมของบ้านเมืองบริเวณสุวรรณภูมิ เช่น พม่า, ลาว, กัมพูชา, ไทย, รวมถึงสิบสองพันนาในยูนนานของจีน


ทุกแห่งต่างอ้างว่าสงกรานต์เป็น ประเพณีขึ้นปีใหม่ของตนทั้งนั้น ทั้งๆ แท้จริงแล้วต่างรับสงกรานต์ของศาสนาพราหมณ์จากอินเดีย ล้วนไม่ใช่ประเพณีดั้งเดิมของตน


สงกรานต์เป็นช่วงฤดูร้อนที่น้ำแล้ง คนจึงชอบเล่นรดน้ำ, สาดน้ำ โดยไม่จำกัดวัย, เพศ, และชาติพันธุ์


ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะที่อยู่บริเวณแผ่นดินใหญ่ ควรพิจารณาร่วมกัน ให้รดน้ำ, สาดน้ำ เป็นประเพณีร่วมของอาเซียน ไม่เป็นของชาติใดชาติหนึ่ง แล้วจัดงานฉลองร่วมกันทั้งอาเซียน


โดยแต่ละชาติจะสร้างสรรค์รดน้ำ, สาดน้ำ ให้มีลักษณะเฉพาะของตัวเองก็ได้ แล้วดีด้วย จะได้มีความหลากหลายให้คนเลือกเล่น

 

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1334311520&grpid=&catid=02&subcatid=0207

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น