หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

บทเรียน การเมือง บทเรียน จาก"ผังล้มเจ้า" บาดแผล สังคมไทย

บทเรียน การเมือง บทเรียน จาก"ผังล้มเจ้า" บาดแผล สังคมไทย



 

 

 

 

 

 

 

 

 

มติจากที่ประชุมร่วมพนักงานสอบสวนการกระทำความผิดเกี่ยวกับ ความมั่นคงแห่งรัฐ ว่าด้วยการละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กับ พนักงานอัยการคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด

สั่งไม่ฟ้อง

สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่ต่อบุคคล 39 ราย อันถูกกล่าวหาและพยายามยกระดับให้ขึ้นสู่สภาวะแห่วความเป็น "คดีพิเศษ"

หากแต่ต่อเกียรติภูมิและสถานะแห่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)

เพราะ คดีผังล้มเจ้ามีรากฐานมาจากข้อกล่าวหาอันเริ่มก่อนการรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 และก่อรูปขึ้นอย่างเป็นระบบทั้งในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ สืบทอดและต่อเนื่องมายังรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

เป็นเหตุผลสำคัญในการปลุกระดมและสร้างความชอบธรรมให้กับการขอคืนพื้นที่ในเดือนเมษายน 2553 การกระชับพื้นที่ในเดือนพฤษภาคม 2553

ส่งผลให้มีคนตายทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชน 98 ศพ บาดเจ็บและพิการร่วม 2,000 คน ถูกจับกุมคุมขังเป็นจำนวนเกือบ 500 คน

เป็นบาดแผลของประเทศ

ต้อง ยอมรับว่า คำสั่งอันนำไปสู่การสังหารประชาชนในเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 มีพื้นฐานและก่อรูปขึ้นจากการหยิบประเด็นมากล่าวหาในเรื่องหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพ กระทั่งเหิมเกริมถึงระดับคิดล้มเจ้า ล้มสถาบัน

ข้อกล่าวหา ของพันธมิตรต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คือ การทำบุญที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทำตัวเทียมองค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

เหตุผล 1 ใน 4 ของการรัฐประหารคือ หมิ่นเหม่ต่อสถาบัน

อย่า ได้แปลกใจ หากมีการรวมตัวกันของคนเสื้อแดงทั้งเมื่อเดือนเมษายน 2552 และเมื่อเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 ข้อกล่าวหานี้ยิ่งได้รับการขยายอย่างมากด้วยสีสันอันเพริศแพร้วพรรณราย

เป็นเหตุผลสร้างความชอบธรรมในการใช้อาวุธสงครามสลายการชุมนุมเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2519

แต่เวลาผ่านมา 6 ปีแล้วเรื่องกลับโอละพ่อ


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1334290055&grpid=01&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น