หน้าเว็บ

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

นักวิชาการชี้ "พ.ร.บ.อุปถัมภ์พุทธศาสนาฯ" ขัดหลักสากล ย้ำพุทธศาสนาเน้นเสรีภาพเป็นแก่นแท้ (ชมคลิป)

นักวิชาการชี้ "พ.ร.บ.อุปถัมภ์พุทธศาสนาฯ" ขัดหลักสากล ย้ำพุทธศาสนาเน้นเสรีภาพเป็นแก่นแท้ (ชมคลิป)

 


 

เมื่อวันที่ 22 เมษายน ที่ห้องประชุม 14 ตุลาฯ (ตึกหลัง) อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ แยกคอกวัว ถ.ราชดำเนิน กลุ่มนักศึกษา อาทิ ประชาคมศิลปากรเพื่อประชาธิปไตย, สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, ธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย ฯลฯ  จัดเสวนาหัวข้อ “ถกจีวรคุย : บทบาทของพระสงฆ์กับการเมืองไทยสมัยใหม่”  ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, นายสุรพศ ทวีศักดิ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต และ ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมเสวนา


นายสุรพศ กล่าวว่า พุทธศาสนากับการเมือง ชาวพุทธมักมองว่าถ้าเข้ามายุ่งในแง่สอนธรรมะสามารถทำได้ แต่หลักการไม่ได้นำมาปฏิบัติ เพราะความเป็นจริงมีพระออกมาชุมนุมเรียกร้องให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ สมัยพุทธกาลพระยุ่งกับเรื่องการเมืองที่ลึกกว่านี้มาก เช่น กรณีพระเทวทัตยุยงให้เจ้าชายอชาตศัตรูทำรัฐประหาร ตรงนี้พระพุทธเจ้าไม่ได้ประณามว่ามีความผิด พูดแค่ว่า สิ่งใดที่เทวทัตยืนยันนั้นไม่เกี่ยวกับคณะสงฆ์ของพระองค์ ไม่ได้บอกว่ายุ่งกับการเมืองผิด

นายสุรพศกล่าวว่า พระยุ่งเกี่ยวกับการเมืองมาตลอดทุกยุคทุกสมัย แต่กรณีพระบอกว่า ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป หรือ ฆ่าเวลาบาปกว่าฆ่าคน เป็นการสร้างวาทกรรมมาเพื่อรับใช้อำนาจรัฐ แสดงความเห็นบิดเบือน น่าแปลกที่สังคมไทยไม่เรียกร้องเอาผิด ทั้งที่วาทกรรมแบบนี้มีผลกระทบมากเพราะอ้างอิงพุทธศาสนาไปสนับสนุนความรุนแรง
 

"การที่พระสงฆ์เลือกฝ่ายเหลือง แดง ไม่ผิด ตราบใดไม่สนับสนุนให้เกิดความรุนแรง ยืนยันสันติวิธี แต่ปรากฏว่าพระมักเอาจุดยืนทางศาสนามาเป็นจุดยืนทางการเมือง เช่น จะเอาพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ยกให้เหนือกว่าศาสนาอื่นขัดกับหลักความเสมอภาค แม้แต่ ร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ยังไม่มีความชอบธรรมตามหลักการสากล คือถ้าจะมีควรเป็นกฎหมายอันเดียวกัน ทุกศาสนาเสมอภาคกัน เราจะเอาอุดมการณ์ศาสนามาเป็นอุดมการณ์ของรัฐไม่ได้ เพราะแม้แต่คนไม่นับถือศาสนาก็เป็นเสรีภาพ ตามหลักประชาธิปไตย"นายสุรพศกล่าว

นายสุรพศ กล่าวอีกว่า พระพุทธเจ้าเน้นเรื่องเสรีภาพ ธรรมะคือเสรีภาพที่อยู่ภายในที่เบ่งบานขึ้นมา จนถึงจุดสูงสุดหลุดพ้นจากกิเลส เสรีภาพคือแก่นของธรรมมะ เพราะฉะนั้นอะไรขัดแย้งก็ไม่ใช่ แม้เน้นเสรีภาพทางจิตใจ แต่ย่อมไม่ปฏิเสธเสรีภาพทางการเมือง


(อ่านต่อ)http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1335099400&grpid=01&catid=01

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น