สุรชาติ บำรุงสุข รำลึก "2475" คำ ผกา กรี๊ด "คณะราษฎรที่ 2"
"การเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎรมาสู่ระบอบรัฐธรรมนูญ เป็นการชอบแล้วด้วยประการทั้งปวง
เพราะได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวในระหว่างรัฐบาลกับประชาชนพลเมืองในระบอบใหม่นับแต่ต้นมาเป็นอย่างดี
ซึ่งยากที่จะหาตัวอย่างในการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศใดอื่นเทียบได้ ทั้งนี้
ย่อมเป็นนิมิตอันดีงามสำหรับอนาคตของชาติไทย"
ไทยในสมัยสร้างชาติ
ที่ระลึกงานฉลองวันชาติ
2484
สังคมไทยดูจะมีความทรงจำที่รางเลือนเต็มที่เกี่ยวกับเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่
24 มิถุนายน พ.ศ.2475 เรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจางหายไปกับกาลเวลาที่เนิ่นนานมาถึง 80
ปี
อย่างน้อยคนรุ่นหลังดูจะลืมไปแล้วว่าประเทศไทยก็มี "วันชาติ" เหมือนกับหลายๆ ประเทศ
และวันชาติของไทยในอดีตตรงกับวันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี
สังคมยุคหลัง 2475
ของการเมืองไทยนำมาซึ่งรูปแบบการปกครองที่แตกต่างออกไปจากเดิม ดังคำบรรยายที่ว่า
"ประเทศชาติไทยตกอยู่ในสภาพอันแปลกใหม่โดยทุกอย่าง กล่าวคือ ระบอบการปกครองผิดแปลกกว่าระบอบเก่า
และกิจการงานทุกสิ่งอย่างก็จำต้องปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามวิถีทางแห่งการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ"
(ไทยในสมัยสร้างชาติ, 2484)...
แน่นอนว่าในการจัดตั้งการปกครองใหม่อันเป็นผลของ
"ระบอบรัฐธรรมนูญนิยม" ที่เกิดขึ้นหลัง 2475
จึงย่อมจะต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน
ว่าที่จริงความพยายามในการจัดรูปแบบการปกครองใหม่ในสยามนั้น
ได้เกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในปี 2475 คณะทหารชุดหนึ่งซึ่งนำโดยร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์
(เหล็ง ศรีจันทร์) ในช่วง ร.ศ.130 ก็ได้พยายามกระทำการเช่นนี้มาแล้ว
หากแต่พวกเขาล้มเหลวและนำไปสู่การถูกจับกุมแบบ "ยกคณะ" ในเดือนกุมภาพันธ์
2454
ซึ่งก็ถือได้ว่าในปีนี้เป็นวาระครบรอบ 101 ปี
ของความพยายามในการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งแรกของสยาม
แม้ความพยายามเช่นนี้จะล้มเหลว
แต่อย่างน้อยพวกเขาก็ทิ้งร่องรอยของความคิดใหม่ที่เชื่อว่า
ระบอบการปกครองของสยามแบบเดิมนั้นไม่เอื้ออำนวยให้สยามเดินไปสู่อนาคตได้อย่างเข้มแข็ง
ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งที่
2 ของสยามที่นำโดยคณะราษฎรนั้น ไม่ได้มีความผูกโยงกับกรณี ร.ศ.130 แต่ประการใด
เพราะระยะเวลาหลังจากการถูกกวาดล้างในปี 2454 แล้ว การเปลี่ยนแปลงที่ประสบผลสำเร็จนั้นเกิดขึ้นในปี 2475
ก็คือมีระยะเวลาห่างกันถึง 21
ปี
การประชุมครั้งแรกของคณะผู้ก่อการในชุดของคณะราษฎรนั้นเกิดขึ้นเป็นทางการในวันที่ 5
กุมภาพันธ์ 2467 ที่บ้านพักของร้อยโทประยูร ภมรมนตรี (ยศในขณะนั้น)
ในกรุงปารีส
การประชุมดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลาถึง 5 วัน และมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 7 นาย
ได้แก่
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340401074&grpid=01&catid=&subcatid=
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น