หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

นาทีปฏิวัติ ๒๔๗๕: "ย่ำรุ่ง" คือกี่โมง, พระยาพหลฯ ยืนอ่านประกาศตรงไหน, อ่านอะไร?

นาทีปฏิวัติ ๒๔๗๕: "ย่ำรุ่ง" คือกี่โมง, พระยาพหลฯ ยืนอ่านประกาศตรงไหน, อ่านอะไร?


Posted Image 
Posted Image

 

นาทีปฏิวัติ ๒๔๗๕ : อยากรู้ “ย่ำรุ่ง” คือกี่โมง, พระยาพหลฯ ยืนอ่านประกาศตรงไหน, อ่านอะไรแน่?

กุหลาบ สายประดิษฐ์ เขียนเรื่อง “เบื้องหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕” ลงใน หนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน ปี ๒๔๘๔ จำนวน ๑๖ ตอน โดยอาศัยข้อมูลส่วนหนึ่งจากการสัมภาษณ์ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง บวกกับตอนที่ ๑๗ เป็นการสัมภาษณ์ พลตรี พระประศาสน์พิทยายุทธ อีก ๑ ตอน เมื่อมีการพิมพ์รวมเล่มครั้งแรกในปี ๒๔๙๐

เบื้องหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติการยึดอำนาจของคณะผู้ก่อการฯ เกือบจะทุกแง่มุม เรารู้แม้กระทั่งว่าคืนวันที่ ๒๓ มิถุนายน พระยาพหลฯ เข้านอนตอนตี ๒ และหลับสนิท แม้ว่าวันรุ่งขึ้นคือวันคอขาดบาดตายของตัวเองก็ตาม

นอกจากนี้ยังได้บอกเล่าเหตุการณ์เบื้องหน้าเบื้องหลังนับตั้งแต่ “ฝ่ายทหาร” มีแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แล้วลำดับเหตุการณ์เรื่อยมาสู่ขั้นตอนวางแผน จนกระทั่งถึงวัน “เอาจริง” ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕

แต่พอถึงวินาทีสำคัญที่สุดของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือตอนที่พระยาพหลฯ ควักกระดาษออกมาอ่านประกาศยึดอำนาจ ปรากฏว่า เบื้องหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ และหนังสือเล่มอื่นๆ ข้ามรายละเอียดตรงนี้ไปอย่างน่าเสียดาย

ไม่มีรายละเอียดเรื่องนี้ ไม่มีภาพถ่าย ไม่มีคำบอกเล่าที่ชัดเจน ในวินาทีที่สยามเปลี่ยนแปลงการปกครอง

เลยไม่รู้ว่าวินาทีนั้นหรือก่อนหน้านั้น เกิดอะไรขึ้นบ้าง โดยเฉพาะตำแหน่ง “จุดยืน” ที่แท้จริงของพระยาพหลฯ ขณะอ่านประกาศยึดอำนาจอยู่ตรงไหน หันหน้าไปทางไหน เหล่าทหารยืนฟังอยู่ทางด้านไหนของลานพระบรมรูปทรงม้า อ่านประกาศเวลา “ย่ำรุ่ง” คือเวลากี่โมงกี่นาที และอ่านอะไร?

แม้จะไม่ใช่ “สาระสำคัญ” ทางประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่ก็เป็นรายละเอียดที่ “อยากรู้” ได้เหมือนกัน

เวลา “ย่ำรุ่ง” คือกี่โมงกันแน่?
  
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340456101&grpid=01&catid=53&subcatid=5300

นาทีปฏิวัติ ๒๔๗๕ ฯ (2)

 

 

(อ่านต่อ)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340456807&grpid=no&catid=&subcatid= 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น