"ซ้อมทรมานแบบไทยๆ" เปิดปมปัญหา-หลากข้อเสนอรูปธรรม
ญาติเหยื่อทหารเกณฑ์ตายคาแข้งครูฝึก
เล่าประสบการณ์เรียกร้องความเป็นธรรมที่ยังมาไม่ถึง ทนายความสิทธิฯ เผย 3
คดีเหนือ-อีสาน-ใต้ โชว์ความบกพร่องกฎหมายพิเศษ องค์กรสิทธิเสนอร่าง
กม.ตั้งคณะกรรมการสอบสวนการซ้อมทรมาน
ขณะศาลเตือนตั้งองค์กรใหม่ไม่เวิร์ค-เปลืองงบประมาณ
ในการเสวนาสาธารณะ เรื่อง
การเข้าถึงความยุติธรรมและการเยียวยาเหยื่อซ้อมทรมาน
ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.
เนื่องในวันต่อต้านการซ้อมทรมานสากล พรเพ็ญ คงเจริญเกียรติ
ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ผู้ดำเนินรายการ กล่าวนำการอภิปรายว่า
ปัจจุบันประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน
ซึ่งให้นิยามคำว่า "การทรมาน" ไว้ว่าคือการทำให้เกิดความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน
ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งเกิดขึ้นจากการกระทำที่เป็นเจตนา
โดยมุ่งหมายต่อข้อสนเทศ คือ การรับสารภาพ หรือข้อมูลข่าวสาร
ที่อาจจะเป็นประโยชน์กับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ
แต่หากผู้ที่กระทำการดังกล่าวไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ
จะไม่ใช่การทรมานตามความหมายนี้ อย่างไรก็ตาม
มีข้อยกเว้นว่าการทรมานกระทำได้ ถ้าเป็นการลงโทษที่ชอบด้วยกฎหมาย
ซึ่งประเทศไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่ยังมีโทษประหารชีวิต
ซึ่งก็เป็นที่วิจารณ์กันในวงการสิทธิมนุษยชนว่า อาจเข้าข่ายการทรมาน
หรือเป็นการปฏิบัติโดยไร้มนุษยธรรมด้วย
ญาติเหยื่อบอกเล่าความยุติธรรมที่ยังมาไม่ถึง
ด้าน นริศราวัลณ์ แก้วนพรัตน์ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3
คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เล่าถึงการเรียกร้องความเป็นธรรมในพลทหารวิเชียร เผือกสม น้าชาย
ซึ่งเป็นทหารเกณฑ์ในพื้นที่สามจังหวัดและถูกครูฝึกรุมทำร้ายจนเสียชีวิต
โดยได้ร้องเรียนมาตั้งแต่หลังจากผู้ตายเสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 มิ.ย.54
จนปัจจุบันนี้ก็ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม
(อ่านนต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41323
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น