โลกร้องรัฐบาลไทย 'ร่วม' ภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ
http://www.iccnow.org/
รายงานข่าวจากเว็บไซต์ประชาไท เผย คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย
(Asian Human Rights Commission: AHRC) ได้เผยแพร่แถลงการณ์ร่วมโดย
องค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (Coalition for the
International Criminal Court - CICC)
เรียกร้องให้รัฐบาลไทยแสดงเจตจำนงที่จะร่วมกับประชาคมโลกในการต่อสู้
ต่อต้านระบบ “ลบล้างความผิด” (Impunity)
ด้วยการให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ
(International Criminal Court – ICC)
ซึ่งเป็นศาลอาญาถาวรระหว่างประเทศแห่งแรก และแห่งเดียวของโลก
ที่มุ่งจัดการกับคดีที่มีลักษณะเป็นอาชญากรรมสงคราม
อาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ประเทศไทย เป็นประเทศเป้าหมายหลักของการรณรงค์ระดับโลก
เพื่อการให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรม ในเดือนตุลาคม 2554
การรณรงค์ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะเรียกร้องให้ประเทศภาคีสมาชิกของสห
ประชาชาติให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรม
ซึ่งถือเป็นอนุสัญญาสาคัญที่เป็นพื้นฐานแห่งการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ
ขึ้น
หนังสือลงวันที่ 3 ตุลาคม 2554 ที่องค์กรเครือข่ายระหว่างประเทศ
ซึ่งมีสมาชิกหลากหลายมากมายกว่า 2500 องค์กร/ หน่วยงาน จาก 150
ประเทศทั่วโลก มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดศาลอาญาระหว่างประเทศ
ที่มีความเที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพ และมีความเป็นอิสระ ส่งถึง ฯพณฯ
นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เรียกร้องให้รัฐบาลไทยได้ดำเนินการให้เกิดความคืบหน้าสู่การให้สัตยาบันต่อ
ธรรมนูญกรุงโรม ว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศในเร็ววัน
ปัจจุบัน 118 รัฐภาคีทั่วโลก ได้เข้าร่วมกับภาคีธรรมนูญกรุงโรม
ว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว
และล่าสุดประเทศมัลดริฟส์ได้เข้าร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญาฉบับนี้
ในรอบสองปีที่ผ่านมา ประเทศต่าง ๆ
ในภูมิภาคเอเซียได้เริ่มเข้ามีส่วนร่วมในศาลอาญาระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น
อาทิ เช่น บังกลาเทศให้สัตยาบันเมื่อเดือนมีนาคม 2553
ฟิลิปปินส์ให้สัตยาบันเมื่อเดือนสิงหาคม 2554 และตามด้วยมัลดริฟส์
เมื่อเดือนกันยายน ที่ผ่านมา
ภูมิภาคเอเซียยังคงเป็นภูมิภาคที่ด้อยจานวนภาคีสมาชิกในศาลอาญาระหว่าง
ประเทศอยู่มากเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ กล่าวคือ มีเพียง 9
รัฐภาคีเท่านั้น ในปัจจุบัน
การให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมแห่งศาลอาญาระหว่างประเทศของรัฐบาลไทย
จะเป็นแบบอย่างที่ดียิ่งสำหรับประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน
“ประเทศไทยอยู่ในฐานะที่มีบทบาทโดดเด่นในภูมิภาคเอเซีย
และบทบาทนำในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค” Evelyn Balais Serrano
ผู้ประสานงานภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกขององค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่าง
ประเทศระบุ
“ภายใต้รัฐบาลใหม่
ถือได้ว่านี่เป็นโอกาสอันสาคัญยิ่งที่ประเทศไทยจะพิจารณาให้สัตยาบันเข้า
เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมแห่งศาลอาญาระหว่างประเทศอย่างจริงจัง
และนี่จะเป็นความพยายามในการกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศและประเทศเพื่อน
บ้าน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการหยุดยั้ง และขจัด
‘การลบล้างความผิด’ (Impunity) และดำเนินการให้เกิดความยุติธรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเหยื่อผู้ถูกล่วงละเมิดท่ามกลางความขัดแย้งในอดีต
ทั้งนี้ให้เป็นไปบนหลักการพื้นฐาน เป้าหมาย
และเจตนารมย์แห่งธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ”
องค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (CICC)
ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยได้มีส่วนร่วมในการประชุม ณ กรุงโรม
และมีการดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อเข้าสู่กระบวนการให้สัตยาบัน
และขณะเดียวกันก็ตระหนักว่าข้อท้าทายทางกฎหมายต่าง ๆ
ซึ่งเกิดเป็นประเด็นคำถามขึ้น อันสืบเนื่องมาจากความ (ไม่)
สอดคล้องกันระหว่างธรรมนูญศาล กับกฎหมายภายในประเทศ
องค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (CICC)
เรียกร้องให้รัฐไทยได้ศึกษาบทเรียนการแก้ปัญหา
หรือคลี่คลายความกังวลจากรัฐภาคีอื่นๆ
ซึ่งประสบผลสำเร็จในการฝ่าข้ามความกังวลเหล่านั้นมาแล้วด้วยดี
รัฐบาลใหม่ต้องแสดงจุดยืน และความมุ่งมั่นในการส่งเสริม ปกป้อง
และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
“ภายใต้การปฏิรูประบบ กลไก และนโยบายหลักโดยรัฐบาล
ผู้บริหารชุดใหม่พึงจะได้รับประโยชน์จากการเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมด้วย
ทั้งนี้จะเป็นการแสดงให้เป็นที่ปรากฎว่า
ประชาชนไทยมีความห่วงใยและเห็นอกเห็นใจ รู้สึกในความสมานฉันท์กับผู้เจ็บปวด
ผู้สูญเสีย และเหยื่อของความขัดแย้งในภูมิภาคเอเซีย และประเทศทั่วโลก”
นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
และผู้นำสำคัญในคณะทำงานไทยว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศกล่าว
เมื่อเข้าเป็นภาคีแล้ว
รัฐบาลไทยจะสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการประชุมประจำปีของรัฐภาคีของศาลอาญา
ระหว่างประเทศ ในฐานะสมาชิก
และเข้าร่วมประชุมเพื่อร่วมพิจารณาในประเด็นปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการ
บริหารจัดการภารกิจศาล ตลอดจนการสรรหา/เลือกตั้งผู้พิพากษา
หัวหน้าอัยการศาล และเจ้าหน้าที่ตาแหน่งสาคัญอื่น ๆ
ข้อมูลพื้นฐาน
ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) (ซึ่งแตกต่างจากศาลโลก หรือ
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ - บรรณาธิการแปล)
เป็นศาลถาวรระดับนานาชาติที่มีบทบาทอานาจในการพิจารณาพิพากษาคดีอาชญากรรม
สงคราม อาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
โดยที่อำนาจหน้าที่ของศาลจะยืนบนหลักการ “เสริมแรง” (Complimentarity) คือ
มีอำนาจเสริมกับระบบศาลระดับประเทศ
ไม่แทรกแซงหรือก้าวก่ายอำนาจศาลในประเทศนั้น ๆ ทั้งนี้ศาลอาญาระหว่างประเทศ
จะมีอำนาจในการตรวจสอบต่อเมื่อระบบศาลในประเทศนั้นไม่ “ใส่ใจ” หรือ
“ไม่มีความสามารถ” ที่จะพิจารณารับคำฟ้องดังกล่าว
อันมีลักษณะที่จะต้องดาเนินการให้ผู้บงการให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
อาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ และอาชญากรรมสงคราม
ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
จนถึงปัจจุบัน อัยการศาลกำลังไต่สวนอยู่ 6 คดี
ก่อนนำขึ้นสู่การพิจารณาคดีในชั้นศาล ได้แก่ คดีประเทศแอฟริกากลาง
คดีสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก คดีดาร์ฟูร์ ประเทศซูดาน คดีอูกันดา คดีเคนยา
และคดีลิเบีย
ศาลได้ออกหมายจับ 18 ฉบับ หมายเรียก 9 ฉบับ มีคดี 3
คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา นอกจากนี้
อัยการศาลยังขออนุมัติอำนาจจากศาลเมื่อเร็วๆ นี้
ให้เปิดการไต่สวนกรณีไอวอรี่ โคสต์ อัยการศาลยังระบุว่า เขากาลังพิจารณา 8
กรณี จาก 4 ภูมิภาค อันได้แก่ แอฟกานิสถาน โคลอมเบีย จอร์เจีย กีนี
ฮอนดูรัส เกาหลีใต้ ไนขีเรีย และปาเลสไตน์
องค์กรเครือข่ายเพื่อศาลอาญาระหว่างประเทศ
เป็นเครือข่ายระดับโลกขององค์กรภาคประชาสังคม ใน 150 ประเทศ
ที่ทำงานร่วมกันในการสร้างเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศกับศาลอาญาระหว่าง
ประเทศ เพื่อให้มีหลักประกันว่า ศาลจะมีความเที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพ
และเป็นอิสระ ดำเนินการเพื่อให้เกิดความยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง
และมีความเป็นสากล นอกจากนี้
ยังรวมถึงการช่วยพัฒนากฎหมายในระดับประเทศให้สามารถอำนวยความเป็นธรรมแก่
เหยื่อจากอาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อต้านมนุษยชาติ
และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
(ที่มา)
http://news.voicetv.co.th/global/19877.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น