หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การศึกษาไทย: แสวงหาหนทางออก บนเส้นทาง “รัฐสวัสดิการ”

การศึกษาไทย: แสวงหาหนทางออก บนเส้นทาง “รัฐสวัสดิการ” 

 

 
เด็กจำนวนมากไม่มีโอกาสได้เรียนเท่าคนอื่น หรือเวลาน้อยกว่าคนอื่น เนื่องจากความยากจน สุขภาพที่ไม่แข็งแรงดีพร้อม หรือครอบครัวมีปัญหาในด้านต่างๆ จากปัจจัยที่ยกมาสะท้อนให้เห็นถึง ความไม่แน่นอนของชีวิตเด็กนักเรียน ความไร้หลักประกัน

โดย
NTW


จากสถิติคุณภาพทางการศึกษาทั่วโลก ประเทศไทยอยู่อันดับต่ำ เทียบไม่ติดฝุ่นกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลายๆประเทศ สังคมไทยยังล้าหลังอยู่มาก ดังที่เห็นในปัจจุบัน เราต่างพูดถึงการศึกษามีปัญหา ในด้านต่างๆ (เช่น ครูไม่มีคุณภาพ รัฐมนตรีการศึกษาบัดซบ!) ผู้เขียนเห็นด้วยกับทัศนะเหล่านี้แทบทุกประการ แต่ในทัศนะของผู้เขียน มีความเห็นอีกประการ เกี่ยวกับปัญหาการศึกษาไทยที่หนักไม่ใช่เบา และเราไม่ค่อยพูดถึงกัน นั่นคือ๑) การที่เราไม่มี “รัฐสวัสดิการ” ซึ่งถือว่าเป็นหลักประกันคุณภาพชีวิตประชากร และ ๒)ปัญหาระบบ “ทุนนิยม” ที่แข่งขันโดยปราศจากมนุษยธรรม ตามคอนเซปท์ของมันอยู่แล้วที่ว่า “มือใครยาวสาวได้สาวเอา”

ผู้ เขียนไม่อยากให้เรามองแค่การแก้ชูเป้าหมายระยะสั้น หรือ เป้าหมายเฉพาะหน้า เท่านั้น แต่เราจำเป็นต้องมีเป้าหมายระยะยาวด้วย และการมองควรจะมองอย่างเป็นองค์รวมอีกด้วย ปัญหาการศึกษาของไทย เป็นที่แน่ชัดว่ามี ปัญหาเชิงโครงสร้าง อันรวบรวมปัญหาสารพัดอยู่ภายในโครงสร้างนั้น แต่ผู้เขียนจะพูดในประเด็นที่ยกไว้ ๒ ข้อ ข้างต้น ซึ่งคิดว่าเป็นปัญหาใหญ่ของระบบการศึกษาไทยทีเดียว

๑)ทำไมเราจำเป็นต้องมี “รัฐสวัสดิการ” – การศึกษาไทยในเวลานี้ สอนล้มเหลวมาโดยตลอด ปัญหาดังกล่าว มีปัจจัยประกอบหลายประการ เช่น

๑.๑)โรงเรียนขาดอุปการณ์การเรียนการสอน ขาดงบประมาณ

๑.๒)ครูไม่อยากสอน และเงินเดือนก็ต่ำ แม้ในระดับมหาวิทยาลัย ที่จบมาเป็น ด๊อกเตอร์ทั้งหลาย เห็นเงินเดือนแล้วก็ตกใจ หมื่นกว่าๆ

๑.๓)ความ เหลื่อมล้ำของโรงเรียนต่างๆ คนที่จบมาจากโรงเรียนที่มีชื่อเสียง มักได้รับโอกาสที่ดีกว่าโรงเรียนไร้ชื่อหรือในชนบทเสมอ นี้คือความจริงในเวลานี้ ทุกคนต่างแสวงหาเพื่อโอกาสที่เข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียงทั้งนั้น

 
ผู้ปกครองทุ่มเททุกวิถีทาง ไม่ว่าด้วยการจับฉลากก็ดี ยัดเงินก็ดี นานาสารพัด แม้ผู้เขียนเองก็เหมือนกัน แม้ไม่ได้ทำด้วยวิถีทางเหล่านั้น แต่ก็มีความอยากคาดหวังมากที่จะต้องสอบให้เข้าโรงเรียนอย่าง เตรียมอุดมศึกษา ให้ได้ ถ้าทำได้ก็ถือว่าเป็นเลิศกว่าโรงเรียนอื่นๆ คนอื่นๆ เอาง่ายๆ เหมือนพฤติกรรม “หมาแย่งกระดูก” และเป็นที่น่าเศร้า ที่เราวัดคนเก่งแบบนี้ คนนี้เก่ง-ไม่เก่ง การศึกษาเพียงชั่วครู่ชั่วคราว ไม่ใช่การศึกษาตลอดชีวิต ไม่ควรจะมาเป็นตัวชี้วัดเลย แต่ประเทศไทย กลับมีค่านิยมกากเดนอย่างนี้ 

๑.๔)การไม่เข้าถึงการศึกษา เด็กจำนวนมากไม่มีโอกาสได้เรียนเท่าคนอื่น หรือเวลาน้อยกว่าคนอื่น เนื่องจากความยากจน สุขภาพที่ไม่แข็งแรงดีพร้อม หรือครอบครัวมีปัญหาในด้านต่างๆ จากปัจจัยที่ยกมาสะท้อนให้เห็นถึง ความไม่แน่นอนของชีวิตเด็กนักเรียน ความไร้หลักประกัน มีเด็กจำนวนไม่น้อยเลยที่แข่งขันกับสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ หรือด้วยปัจจัยที่กล่าวไว้ในข้างต้น เบียดให้พวกเขาต้องกลายเป็น “คนชายขอบ” จำต้องหันเหชีวิตตนเองไปในทางที่ผิด เช่น เป็นโจร เป็นอาชญากร เราจะโทษเด็กเหล่านี้ได้อย่างไร ในที่พวกเขาไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้ว เขาเป็นผู้แพ้ในระบบ

(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.dk/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น