หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ ส่งผลสะเทือนต่อระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างไร?

คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ ส่งผลสะเทือนต่อระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างไร?
 



ศาลรธน.รับคำร้อง40สว.ถอนร่างแก้รธน.สั่งสภาชะลอพิพิจารณานัดไต่สวน5-6กค.





คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ ส่งผลสะเทือนต่อระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างไร?

๑.) ต่อไปนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้กุมชะตากรรมของ "การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ" ทุกครั้ง

๒.) ลำดับชั้นของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ อำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญ จะเสียไปทั้งหมด

๓.) การสั่งให้สภาระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ชั่วคราว ไม่มีรัฐธรรมนูญเขียนไว้เลย แต่ศาลรัฐธรรมนูญยังสามารถไปเอา วิ แพ่ง มาใช้ นั่นหมายความว่า อนาคตอาจมีอีก (ไม่ต้องอ้างเยอรมันหรอกครับ ผมเอาไปสอนในชั้น ป โท เองแหละ เรื่องนี้ แต่ของเยอรมัน เขาเขียนให้อำนาจศาล รธน ในการระงับการบังคับใช้รัฐบัญญัติได้ชั่วคราว ไมใช่เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ และอำนาจนี้ต้องเขียนไว้ใน รธน ให้ชัด ของเราไม่มีเขียน แต่ลากเอา วิ แพ่งมาใช้)

ปัญหาอยู่ที่ว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญ ที่รัฐธรรมนูญสร้างขึ้นมาเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ กลับเป็นองค์กรที่ละเมิดรัฐธรรมนูญเอง แล้วจะทำอย่างไร?

-- อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

------------------------------------------------

Quote of the Day


การที่ศาลรธน.มีคำสั่งให้สภา ผู้แทนราษฎรระงับการพิจารณาร่างแก้ไข รธน.มาตรา 291 ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐ ธรรมนูญ เพราะเป็นการก้าวก่ายการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตุลาการที่ออกคำสั่งดังกล่าวจึงมีลักษณะเข้าข่ายที่อาจถูกถอดถอนตามบท บัญญัติมาตรา 270 ได้ ฉะนั้น จึงขอเสนอให้มีการรณรงค์เพื่อร่วมกันเข้าชื่อถอดถอนตามกระบวนการที่ รธน.บัญญัติไว้
 
พนัส ทัศนียานนท์
เฟซบุ๊ก พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี นิติศาสตร์ มธ. และ สว.เลือกตั้งปี 2540
รัฐสภาต้องยืนยันอำนาจของตนเอง เดินหน้าไปเลย ถึงเวลาต้องชนกันแล้ว มิฉะนั้นหลักการมีอำนาจสูงสุดของประชาชนผ่านรัฐสภาจะถูกทำลายลงจนหมดสิ้น

-- อ.พนัส ทัศนียานนท์ อดีต สว.จังหวัดตาก และอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(ความคิดเห็นหลังศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องล้มรัฐธรรมนูญ โดยสั่งสภาฯ ระงับลงมติวาระ 3
 
มาตรา ๒๙๑ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้

(๑) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะเสนอมิได้

(๒) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและให้รัฐสภาพิจารณา
เป็นสามวาระ

(๓) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

(๔) การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วยการออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ

(๕) เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้สิบห้าวัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป
(๖) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่
ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

(๗) เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๕๐ และมาตรา ๑๕๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

-----------------------
เมื่อมาตรา 291 ไม่มีช่องทางให้มีการเลือกตั้ง สสร. ฉะนั้น จึงต้องมีการแก้มาตรา 291 ให้สามารถเลือกตั้งสสร. ได้ก่อนค่ะ จึงจะมีสสร.ได้

เพราะฉะนั้น แก้ 291 ไม่ได้ ไม่มี สสร. ค่ะ
(หากข้อเท็จจริงผิดพลาดประการใดแลกเปลี่ยนกันได้นะคะ)


(คลิกอ่าน)
กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น