หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ยื่นไม่ไว้วางใจรายคน เล็งถล่ม"ปู" ศาลรธน.ลุยฟัน80แดง แจ้งป.เอาผิด6ข้อหา ข่มขู่คุกคาม-แจ้งเท็จ

ยื่นไม่ไว้วางใจรายคน เล็งถล่ม"ปู" ศาลรธน.ลุยฟัน80แดง แจ้งป.เอาผิด6ข้อหา ข่มขู่คุกคาม-แจ้งเท็จ

 

 

ปชป.ส่งซิกจองกฐินซักฟอก′ปู′ราย แรก นายกฯเสนอเลขาฯกฤษฎีกายื่นศาล รธน.เคลียร์คำวินิจฉัยแย้งกันเอง ′เฉลิม′จัดโปรมแกรมเดินสายแจงแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ฟ้องแกนนำ-คนเสื้อแดง 80 คน ′เจ๋ง-ก่อแก้ว- จ่าประสิทธิ์′โดนด้วย

@ ′ปู′เสนอกฤษฎีกาถามศาลรธน.  


เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (มรภ.สุรินทร์) ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร จังหวัดสุรินทร์ มีการหารือถึงถึงความชัดเจนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรม การกฤษฎีกา ได้รายงานว่า โดยหลักแล้วคำวินิจฉัยส่วนตัวของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องออกก่อนคำวินิจฉัยกลาง แต่ศาลรัฐธรรมนูญกลับเปิดส่วนกลางก่อน แล้วมาเปิดส่วนตนภายหลัง คำวินิจฉัยจึงขัดแย้งกันเอง โดยใน 8 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มี 4 คนแรกคำวินิจฉัยชัดเจนไม่มีปัญหา ส่วน 4 คนหลังมองว่าไม่ได้มีการวินิจฉัย

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จึงได้เสนอแนะว่า หากเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาสงสัยในคำวินิจฉัย ขอทำหนังสือไปถามจนสิ้นข้อสงสัยเพื่อให้เกิดความชัดเจน ซึ่งในที่ประชุมยังพูดล้อเล่นกันว่า เป็นการส่งหนังสือไปทวงถามให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคำวินิจฉัยอีกที ขณะที่ ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเห็นคล้ายกับนายกรัฐมนตรี ซึ่งทำให้เห็นว่าท่าทีในการแก้รัฐธรรมนูญของรัฐบาลจะไม่เร่งรีบแล้ว

@ นายกฯขอเวลาศึกษาคำวินิจฉัย

น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุม ครม. ว่า เนื่องจากคำวิฉัยกลางและ คำวินิจฉัยส่วนตนที่ออกมา มีบางประเด็นที่ยังไม่เหมือนและสอดคล้องกัน ทางกฤษฎีกาได้ขอเวลาในการศึกษา คณะรัฐมนตรีเองจึงมีมติเห็นชอบให้มีการศึกษาอย่างครบถ้วนเพื่อนำเสนอ ครม.อีกครั้ง ขณะเดียวกัน ครม.มีความเห็นว่าในเรื่องของการมีส่วนร่วมของประชาชนไม่ควรจะรอ จึงมีมติเห็นชอบให้นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.) หากระบวนการในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อที่จะทำความเข้าใจและ เห็นพ้องต้องกัน

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะทำประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ใช่ แต่เป็นกระบวนการการมีส่วนร่วมคือกระบวน การสอบถาม เพราะขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปทางด้านข้อกฏหมาย

@ ใช้กลไกมท.ทำความเข้าใจปชช.

ผู้ สื่อข่าวถามถึงลักษณะการมีส่วนร่วมนั้นรูปแบบเป็นอย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า วันนี้ยังไม่มีข้อสรุป แต่หลักการคืออาจจะให้นักวิชาการหรือกลไกของกระทรวงมหาดไทยในการรับฟังความ คิดเห็นของประชาชน

เมื่อถามว่า ตั้งกรอบเวลาไว้อย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ยังไม่มีการตั้งกรอบ อาศัยหลักความเข้าใจเป็นสำคัญ ส่วนจะเป็นการเปิดเวทีในแต่ละจังหวัดหรือไม่ ยังไม่ทราบ แต่ก็อาจเป็นไปได้ หรืออาจจะเป็นการหารือ สัมมนาวิชาการ มอบหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งในการที่จะสอบถามความคิดเห็น โดยจะให้กระทรวงมหาด ไทยไปหารือกัน

@ สั่งศึกษาหากลไกปชช.มีส่วนร่วม

น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ระหว่างการประชุม ครม. เลขาธิการกฤษฎีการะบุว่าหลังจากที่ได้อ่านคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วน ตนแล้ว พบว่ายังมีบางส่วนที่ไม่เหมือนกัน ครม.เห็นว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน จึงมอบให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปศึกษาและพิจารณาเพื่อหาข้อยุติของความหมายข้อ วินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ชัดเจนที่สุด และในระหว่างรอผล นายกฯได้มอบหมายนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไปศึกษาหากลไกในการให้ประชาชนมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นเพื่อสร้างเสริม ความสมดุลของทั้งสามอำนาจในรัฐธรรมนูญ 


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1343706456&grpid=00&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น