หน้าเว็บ

วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แก้รัฐธรรมนูญ: ทางสองแพร่งที่รัฐบาลต้องเลือก

แก้รัฐธรรมนูญ: ทางสองแพร่งที่รัฐบาลต้อง
 เลือก



โดยชำนาญ จันทร์เรือง


ไม่ว่าคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญใน กรณีการยกคำร้องตามมาตรา 68 ที่ออกมาในวันที่ 26 กรกฎาคม 2555 จะออกมาเป็นเช่นไร แต่ผมคิดว่าคงเปลี่ยนแปลงจากคำแถลงข่าวในวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมาไม่มากนัก เพราะตามรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้แล้วว่าคำวินิจฉัยกลางต้องและคำวินิจฉัย ส่วนตนต้องทำให้เสร็จก่อนการอ่านคำวินิฉัยในวันที่ลงมติ การแก้ไขจะทำได้ก็เพียงรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น เช่น กับ แก่ แต่ ต่อ ตัวสะกด การันต์ ฯลฯ แต่ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะกรณีคำวินิจฉัยกลางของคดี(ไม่)ยุบพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยเกิดเหตุการณ์ คำวินิจฉัยกลางที่เป็นทางการไม่ตรงกับการแถลงข่าวมาแล้ว ที่สำคัญก็คือข้อคลางแคลงในคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ที่ว่า “ตัดสินความผิดย้อนหลังก็ได้ ตัดสินคดีล่วงหน้าก็ได้ ไม่มีอำนาจก็ตัดสินได้”

ซึ่งไหนๆก็ไหนๆแล้ว ป่วยการที่จะไปแหกปากร้องแรกแหกกระเฌอว่าศาลรัฐธรรมนูญตีความขยายอำนาจตัว เอง เพราะดันไปรับอำนาจเขาเองตั้งแต่ต้น แทนที่จะเดินหน้าลงมติวาระ 3 ไปให้เสร็จสิ้นกระบวนความ แต่ไปเชื่่อที่ปรึกษาห่วยๆว่าจะถูกองคมนตรีระงับยับยั้งหรือส่งกลับซึ่งไม่ มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญรองรับ หรือเกรงว่าตัวเองจะถูกต้อนเข้าไปสู่ Killing Zone เพราะหากเสนอทูลเกล้าฯไปแล้วมีอันเป็นไป เพราะผมเชื่อว่าจะไม่เป็นเช่นนั้น เพราะขนาดศาลรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวประธานเองและตุลาการบางนายออกมา ขู่ฟอดๆอยู่รายวันต่อสื่อมวลชนก่อนวันตัดสินยังต้องเบรกจนตัวโก่งเมื่อเจอ ฤทธิ์เดชของมวลชนที่ออกมาขู่กลับเช่นกัน ทำให้คำวินิจฉัยออกมาไม่เป็นที่สะใจของฝ่ายที่ไม่ต้องการให้มีการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญปี 50 แต่ก็ยังไม่วายวางยาหรือระเบิดเวลาไว้ให้ปวดหัวเล่น

การ วางยาหรือระเบิดเวลาที่ว่านี้ก็คือ แม้ว่าจะยกคำร้องแต่ยังไปวินิจฉัยว่ามาตรา นั้นให้แก้เป็นรายมาตราเท่านั้นไม่ให้แก้ทั้งฉบับให้แก้ได้เป็นรายมาตราเท่า นั้น หากจะแก้ทั้งฉบับควรจะไปทำประชามติเสียก่อนซึ่งเป็น การแต่งตำราขึ้นมาใหม่โดยศาลรัฐธรรมนูญเอง เพราะไม่มีในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญใดที่ให้อำนาจเช่นว่านี้ไว้ ซึ่งผมคงจะงดให้ความเห็นในประเด็นต่างๆเหล่านี้เพราะได้มีผู้ให้ความเห็นไว้ มากแล้ว แต่ผมจะมาวิเคราะห์ทางเลือกที่เหลืออยู่ของรัฐบาลว่าจะทำอะไรได้บ้างหรือจะ ทำอะไรไม่ได้บ้าง

ประเด็นแรกที่มีผู้เรียกร้องมากและปัจจุบันก็ยังมีผู้ เรียกร้องอยู่ทั้งจากในกลุ่มฮาร์ดคอร์ของพรรคเพื่อไทยเองหรือในฝ่ายนัก วิชาการส่วนใหญ่(ผมใช้คำว่าส่วนใหญ่เพราะนักวิชาการที่เห็นด้วยกับคำ วินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญล้วนแล้วแต่มีที่มาที่ไปที่เกี่ยวข้องกับผล ประโยชน์ที่ตนเองกำลังเสวยสุขอยู่แทบเสียจะทั้งสิ้น ไม่เชื่อลองยกชื่อมาวางเป็นรายๆไปเลยก็ได้ว่าใครเกี่ยวข้องอย่างไร)ที่ยังคง อยากให้รัฐสภาเดินหน้าลงมติในวาระ 3 ต่อไป ซึ่งก็คงจะไปเข้าล็อกของการตีความใหม่ของศาลรัฐธรรมนูญอีกทีหนึ่ง ซึ่งผมเห็นว่าไม่น่าจะเป็นไร ถ้าเราไม่ยอมรับการขยายอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญเสียอย่าง แต่ในทางเลือกนี้คงเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะรัฐบาลและรัฐสภาได้แสดงให้เห็นถึงอาการปอดแหกมาตั้งแต่ต้นแล้ว ไม่มีทางที่จะมากลับลำเอาเสียง่ายๆหรอก ก็เป็นอันว่าทางเลือกนี้เป็นอันพับไป

(อ่านต่อ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น