เผด็จการของเสรีนิยม
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์
ใคร ในไทยที่ยังหลงเชื่อว่าลัทธิเสรีนิยมจะนำไปสู่ประชาธิปไตย ควรศึกษาสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในยุโรป เพราะในรอบเดือนที่ผ่านมามีการทำ “รัฐประหารเงียบ” ในอิตาลี่และกรีส เพื่อให้มีการแต่งตั้งรัฐบาลเทคโนแครทที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลในสองประเทศนี้จะต้องทำตามคำสั่งนายธนาคารในการทำลายมาตรฐานชีวิต ประชาชน โดยการตัดสวัสดิการ ทำลายการจ้างงาน และตัดการบริการของภาครัฐ ทั้งหมดเพื่อปกป้องธนาคารต่างๆ ของยุโรป และองค์กรหลักที่ทำรัฐประหารคือ ไอเอ็มเอฟ ธนาคารกลางของอียู และองค์กรบริหารอียูซึ่งอยู่ภายใต้รัฐบาลฝ่ายขวาของเยอรมันและฝรั่งเศส
ล่าสุดนายกรัฐมนตรี แองกาลา เมอร์คัล ของเยอรมัน และประธานาธิบดี นิโคลัส
ซาโคซี ก็เสนอว่าทุกประเทศในสหภาพยุโรป จะต้องตกลงกันอย่างเคร่งครัดที่จะ
“รักษาวินัยทางการคลัง”
ซึ่งเป็นคำสวยหรูที่มีความหมายสกปรกโหดร้าย
เพราะไม่ว่าจะออกมาจากปากนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ในไทย
หรือออกมาจากปากนักการเมืองฝ่ายขวาในยุโรป มันมี
ความหมายเดียวคือ ต้องตัดงบประมาณรัฐที่บริการประชาชนส่วนใหญ่
ต้องตัดสวัสดิการ และทำลายการจ้างงาน ในขณะที่เอาใจนายทุนใหญ่และคนรวย
ในกรณียุโรปมีการเสนอว่า “ศาลกลางยุโรป”จะต้องลงโทษรัฐบาลที่ไม่ทำตามข้อตกลงนี้ ซึ่ง
แปลว่าประชาชนในแต่ละประเทศจะไม่มีสิทธิเสรีภาพทางประชาธิปไตย
ในการเลือกรัฐบาลที่มีนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
และจะไม่สามารถใช้กลไกประชาธิปไตยในการปกป้องรัฐสวัสดิการหรือเสนอนโยบาย
เศรษฐกิจที่ไม่ใช่แนวเสรีนิยม
นี่ละครับคือเผด็จการเสรีนิยมของนายธนาคารและนายทุน เผด็จการของตลาด
ไม่
ว่าจะเป็นเสรีนิยมกลไกตลาดทางเศรษฐกิจ หรือ เสรีนิยมทางการเมือง
เราแยกออกจากกันไม่ได้
เพราพรรคเสรีนิยมในยุโรปสนับสนุนเผด็จการเสรีนิยมทางเศรษฐกิจแบนี้
และในไทยนักวิชาการเสรีนิยมทั้งหลายล้วนแต่เคยสนับสนุนรัฐประหาร ๑๙ กันยา
บางคนที่ไม่เข้าใจเศรษฐศาสตร์การเมืองเพียงพอ จะพูดว่าความขัดแย้งในสังคมไทยที่นำไปสู่วิกฤต คือความขัดแย้งระหว่างนโยบาย “โลกาภิวัตน์กลไกตลาดเสรี” ของทักษิณและไทยรักไทย ในฐานะที่เป็น “กลุ่มนายทุนสมัยใหม่” กับนโยบาย “ปิดประเทศต้านโลกาภิวัตน์ต้านเสรีนิยม” ของอำมาตย์หัวเก่า ทั้งหมดนี้ไม่เป็นความจริงเลย
ในความเป็นจริง นโยบาย
ของรัฐบาลทหารหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยา
และนโยบายของรัฐบาลพรรคทหารของอภิสิทธิ์
ล้วนแต่ใช้แนวเสรีนิยมกลไกตลาดสุดขั้ว
ที่คัดค้านการใช้รัฐและงบประมาณรัฐในการพัฒนาสภาพคนจน
ส่วนนโยบายของไทยรักไทยเป็นนโยบาย “คู่
ขนาน” ที่ใช้รัฐกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าตามแนวเคนส์
(Keynes)ในระดับหมู่บ้านและชุมชนภายในประเทศ
ร่วมกับแนวกลไกตลาดเสรีในเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
แต่อย่าพึ่งหลงเชื่อว่าประชาชนยุโรปจะยอมรับเผด็จการเสรีนิยมง่ายๆ
ตอนนี้คลื่นการนัดหยุดงานของสหภาพแรงงานและการประท้วงชุมนุมของคนหนุ่มสาว
“ผู้โกรธแค้น” หรือขบวนการ “เราคือ 99%” กำลังมาแรงในทุกประเทศ
ประเด็นคือ... ทางออกในการแก้วิกฤตคืออะไร?
ถ้าเป็นฝ่ายทุน หรือฝ่ายเสรีนิยม เขาต้องการจะกดค่าแรงและสวัสดิการของ “ประชาชน99%”
เพื่อปกป้องกำไรของกลุ่มทุนและธนาคาร และปกป้องผลประโยชน์ทางชนชั้นของเขา
โดยไม่สนใจว่าคนหนุ่มสาวรุ่นหนึ่งจะหมดอนาคตไป
ไม่สนใจความยากลำบากของคนจน และไม่สนใจว่าในระยะยาวสังคมจะเป็นอย่างไร
จะถอยหลังลงคลองแค่ไหน
เขาสนใจเรื่องเดียวคือการปกป้องผลประโยชน์ระยะสั้นของกลุ่มทุนเท่านั้น
นี่คือตรรกะของทุนนิยม
ถ้า
เป็นฝ่ายเรา แน่นอนเราต้องขัดขืนการตัดสวัสดิการ การกดค่าแรง
และการทำลายชีวิตประชาชน เราต้องออกมานัดหยุดงานและประท้วง เพื่อล้มรัฐบาล
และล้มเผด็จการเสรีนิยม แต่แค่นั้นไม่พอ
เพราะต้องมีข้อเสนอว่าจะเอาอะไรมาแทนที่
ในระยะสั้นต้องยึดธนาคารเอกชนมาเป็นของส่วนรวมภายใต้การบริหารของสหภาพแรง
งาน เพื่อที่จะนำเงินทองมหาศาลที่กองอยู่ มาใช้ในการสร้างงานและฟื้นฟูสังคม
ไม่ใช่เพื่อให้ทรัพยากรของสังคมถูกใช้เพื่อจ่ายดอกเบี้ยให้นายธนาคาร
ในขณะเดียวกันต้องรื้อถอนสกุลเงินยุโร
และต้องให้ประชาชนตัดสินใจเองเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจ
แต่นั้นเป็นเพียงวิธีแก้ปัญหาระยะสั้นเท่านั้น
วิกฤต
ทุนนิยมครั้งนี้ และครั้งก่อนๆ ทุกครั้ง
เกิดจากแนวโน้มการลดลงของอัตรากำไร และการหันไปสร้างเศรษฐกิจฟองสบู่
อย่างที่คาร์ล มาร์คซ์ เคยอธิบายในหนังสือ “ว่าด้วยทุน”
วิธีแก้ปัญหาการลดลงของอัตรากำไรมีแค่สองวิธีเองคือ
วิธีของนายทุน ซึ่งหมายถึงการกดค่าแรงและสวัสดิการ
และการทำลายบริษัทและโรงงานจำนวนหนึ่ง เพื่อลดพลังการผลิตล้นเกิน
มันนำไปสู่นรกสำหรับประชาชน 99% และคราวที่แล้วที่มีวิกฤตโลกที่หนักแบบนี้ มันนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง
วิธี
ของนักสังคมนิยม
ซึ่งหมายถึงการยึดอำนาจการเมืองและเศรษฐกิจมาเป็นของกรรมาชีพ
และการสร้างเศรษฐกิจใหม่ภายใต้การวางแผนด้วยกลไกประชาธิปไตยที่ไม่อาศัยกลไก
ตลาด พูดง่ายๆ ต้องยกเลิกทุนนิยม
เพราะแค่การเพิ่มงบประมาณรัฐและการสร้างงานในระบบทุนนิยมตามสูตรเคนส์
จะไม่นำไปสู่การฟื้นตัวของอัตรากำไรแต่อย่างใด
จะเป็นเพียงการซื้อเวลาระยะสั้นเท่านั้น
ถ้าเราเข้าใจประเด็นเหล่านี้เราจะต้องปรับใช้กับสังคมไทยหลังน้ำลง เพราะเราต้องสร้างข้อถกเถียงว่าจะมีการฟื้นฟูชีวิตของประชาชนไทย 99% ด้วยนโยบายแบบไหน
(ที่มา)
http://redthaisocialist.com/2011-02-22-09-46-04/303-2011-12-06-13-23-22.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น