หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ในสนามรบทางกฎหมาย

ในสนามรบทางกฎหมาย 

 


โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

 

คงไม่จำเป็นต้องกล่าวซ้ำถึงความไม่ชอบมาพากลที่ศาลรัฐ ธรรมนูญรับเรื่องตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญเอง และขัดต่อการตีความของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีมาก่อน ไปจนถึงการให้สัมภาษณ์ของประธานศาลรัฐธรรมนูญที่ส่ออคติก่อนการสอบสวน

ยิ่ง กว่านี้ สองในตุลาการเคยให้สัมภาษณ์มาก่อนว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับโดยการตั้ง ส.ส.ร.อาจทำได้ ซึ่งขัดกับการตัดสินใจรับคำร้องในครั้งนี้

ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า มันมีอะไรที่ใหญ่และสลับซับซ้อนกว่าประเด็นทางกฎหมายหรือวินิจฉัยส่วนตนของ ตุลาการ พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ พลังฝ่ายอำมาตย์ไม่อนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน อย่างน้อยก็ยังแก้ไม่ได้ในช่วงนี้

รัฐธรรมนูญนั้นไม่ค่อยมีความหมายมากนักแก่ฝ่ายผู้ถืออำนาจในเมืองไทย (มิฉะนั้นเราคงไม่มีรัฐธรรมนูญเกือบ 20 ฉบับหรอก) เพราะอาจตีความอย่างไรก็ได้ นอกจากนี้ฝ่ายผู้ถืออำนาจยังมีส่วนกำกับการร่างรัฐธรรมนูญเสมอ อย่างน้อยก็นับตั้งแต่การรัฐประหาร 2490 เป็นต้นมา โดยการต่อรองร่วมกันระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่ถืออำนาจร่วมกัน หรือหากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการสถาปนาการนำในกลุ่มผู้ถือ อำนาจได้ ก็อาศัยการต่อรองผ่านกลุ่มดังกล่าวอีกทีหนึ่ง

ฉะนั้นถึงจะ แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ก็ไม่น่าจะเป็นที่หวั่นวิตกอย่างไร แต่ในร่าง พ.ร.บ.ที่เสนอให้ตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นเป็นผู้รับผิดชอบการแก้ไข สถานการณ์ปัจจุบันทำให้เห็นได้ว่า เป็นการยากที่ฝ่ายผู้ถืออำนาจจะเข้ามากำกับได้ เพราะ ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้ง (เป็นส่วนใหญ่) แม้แต่ผู้ทรงคุณวุฒิก็ยังถูกเลือกมาจากรัฐสภา ซึ่งอำนาจกำกับของฝ่ายผู้ถืออำนาจเบาบางลงมาก

รัฐธรรมนูญปี 2550 เปิดโอกาสให้ฝ่ายผู้ถืออำนาจกำกับฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติได้หลายทาง แม้ต้องทำโดยไม่ค่อยตรงกับหลักการประชาธิปไตยเท่าไรนัก แต่ก็ยังเป็นอำนาจกำกับที่ขาดไม่ได้ ฉะนั้นในช่วงนี้เป็นอย่างน้อย ที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นการสุ่มเสี่ยงเกินไปแก่ฝ่ายผู้ถืออำนาจ จึงต้องขัดขวาง

แม้กระนั้น วิธีที่ใช้ในการขัดขวางก็ไม่ค่อยจะ "เนียน" เท่าไรนัก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับการขัดขวางร่าง พ.ร.บ. หรือคำสั่งแต่งตั้ง ซึ่งไม่ต้องการให้บรรลุผล เท่าที่ผ่านมาในอดีต หากไม่นับการรัฐประหารแล้ว ประสบการณ์ทางการเมืองที่สั่งสมมานานของฝ่ายผู้ถืออำนาจ จะรู้วิธีขัดขวางฝ่ายที่ไม่ร่วมอยู่ในผู้ถืออำนาจได้แนบเนียนกว่านี้มาก

แต่วิธีที่ไม่ "เนียน" นี้อาจเป็นวิธีเดียวที่เหลืออยู่ เพราะอย่างน้อยในช่วงระยะเวลานี้และอนาคตอันใกล้ การรัฐประหารเป็นเครื่องมือที่ใช้ไม่ได้ ขาดการยอมรับของชาติมหาอำนาจ (อย่างที่ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน กล่าวว่า ท่าทีของมหาอำนาจตะวันตก คือให้การยอมรับและต้อนรับรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยอย่างเห็นได้ชัด) และก่อให้เกิดความวุ่นวายถึงขั้นจลาจลทางการเมือง ซึ่งจะยิ่งทำให้ประเทศไทยภายใต้การนำของฝ่ายผู้ถืออำนาจตกในสถานการณ์ย่ำแย่ ลง

หลายคนเรียกการแทรกแซงฝ่ายนิติบัญญัติของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ว่า "ตุลาการรัฐประหาร" ซึ่งก็จริงอย่างปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นการรัฐประหารอย่างหนึ่ง คือการประหารรัฐด้วยการอ้างอำนาจที่ไม่มีในกฎหมาย แต่อย่างน้อย ก็ต้องอ้างกฎหมาย แม้จะอ้างอย่างข้างๆ คูๆ ก็ตาม แต่ก็ต้องอ้าง

ย้อน กลับไปคิดถึง พ.ศ.2476 เมื่อกำลังทหารฝ่ายคณะราษฎรยึดอำนาจจากรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เนื่องจากรัฐบาลนั้นได้ละเมิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ด้วยการงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา อันเป็นอำนาจฝ่ายบริหารที่ไม่มีกฎหมายใดรับรองให้ทำได้ ฝ่ายคณะราษฎรก็อ้างเหตุนี้ในการยึดอำนาจ กล่าวคือเพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญเอาไว้

คณะ ราษฎรในขณะนั้น มิได้มีอำนาจเด็ดขาดไม่ว่าในทางทหารหรือทางการเมือง การอ้างกฎหมายจึงเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเสริมพลังอำนาจของฝ่ายตน

เช่น เดียวกับการทำรัฐประหารตุลาการในครั้งนี้ ที่ต้องอ้างกฎหมายก็เพราะไม่มีทางเลือกอื่น แสดงให้เห็นอำนาจอันจำกัดลงของฝ่ายผู้ถืออำนาจ

สภาพอำนาจที่ถูกจำกัด ลงนี้ จะดำรงอยู่ต่อไปหรือไม่ และนานเท่าไร คงเถียงกันได้ แต่โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่เชื่อว่าจะกลับมามีอำนาจกำกับการเมืองเหมือนเดิมได้อีก หากฝ่ายผู้ถืออำนาจมีสำนึกอย่างเดียวกันเช่นนี้

สิ่งที่ต้องปรับตัว คือต้องอาศัยกฎหมาย (แต่เพียงความหมายเผินๆ ทางอักษรศาสตร์ หรือบิดเบี้ยวในเชิงกระบวนการก็ตาม) เท่านั้น ในอันที่จะเข้ามากำกับการเมืองได้ในระดับหนึ่ง
  

 

(อ่านต่อ)http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342409064&grpid=&catid=02&subcatid=0200

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น