หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แม่น้องเกด ระบุศาลอาญาระหว่างประเทศแม้จะริบหรี่แต่ดีกว่าไม่มีหวัง ปิยบุตรเรียกร้องรัฐบาลจริงใจ

แม่น้องเกด ระบุศาลอาญาระหว่างประเทศแม้จะริบหรี่แต่ดีกว่าไม่มีหวัง ปิยบุตรเรียกร้องรัฐบาลจริงใจ

 

 

“การอ้างรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ต่างประเทศเขาก็ถามว่าประเทศคุณพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญหรือ ก็เรียนไปยังส่วนราชการต่างๆ อย่าอ้างเหตุผลมาตรา 8 เลยเพราะไม่เป็นผลดีต่อสถาบันกษัตริย์”

 

 

 

 

 




แม่น้องเกดเปิดใจ รู้ศาลอาญาระหว่างประเทศริบหรี่ แต่ดีกว่าไม่มีหวัง ปิยบุตร แสงกนกกุลเรียกร้องรัฐบาลจริงใจจะให้สัตยาบันหรือจะประกาศฝ่ายเดียวให้ศาลา อาญาระหว่างประเทศมีอำนาจเข้ามาพิจารณาย้องหลังหรือไม่ ก็ควรพูดอย่างตรงไปตรงมา ไม่เลี้ยงกระแสให้ความหวังกับคนเสื้อแดง

19 ส.ค. การเสวนาที่จัดขึ้นโดยศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการ ชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 2553 ในช่วงบ่าย นางพะเยาว์ อัคฮาด แม่ของอาสาพยาบาลกมนเกด อัคฮาดที่เสียชีวิตในการสลายการชุมนุม 19 พ.ค. 2553 ที่วัดปทุมวนารามกล่าวถึงเหตุที่เธอต้องการดำเนินคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศ ว่าแม้จะได้คำแนะนำจากนายโรเบิร์ต

อัมสเตอร์ดัม ทนายความว่า เป็นช่องทางที่เหมือนไฟริบหรี่ แต่ก็เพียงพอแล้วต่อความหวังที่จะไม่ให้คดีที่ลูกสาวเสียชีวิตจากการสลายการ ชุมนุมจะจบลงด้วยการนิรโทษกรรมเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นกับการสังหารหมู่ ประชาชนที่ผ่านมาในอดีต และพร้อมจะโหมไฟที่ริบหรี่ให้ลุกโชนขึ้น ความกังวลของเธอขณะนี้คือ รัฐบาลจะใช้คำว่าปรองดองมาครอบหัวให้ยอมรับการนิรโทษกรรม

โดยเธอกล่าวว่า เธอยืนยันต่อเจ้าหน้าที่ศาลอาญาระหว่างประเทศว่า แม้ครั้งนี้คนตายอาจจะไม่มาก แต่ถ้าย้อนพิจารณาประวัติศาสต์ของไทยจะพบว่าคนไทยตายไปหลายพันศพแล้วจากการ กระทำของรัฐ

วิธีการไปศาลาอาญาระหว่างประเทศริบหรี่แค่ไหน เพียงใด มีโอกาสไหม
ปิยบุตร แสงกนกกุล อธิบายว่า วิธีการที่ไทยจะเข้าสู่กระบวนการศาลอาญาระหว่างประเทศมี 2ทาง ที่จะให้ไทยอยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลฯ ได้ 1) คือ ไปลงนามให้สัตยาบัน ซึ่งจะมีผลต้องบวก 60 วัน บวกวันที่ 1 ของวันถัดไปจากนั้น คือมีผลไปข้างหน้าไม่มีผลถอยไปข้างหลัง 2) อย่างไรก็ตาม ประเทศที่ไม่ได้ลงสัตยาบันสามารถประกาศให้ศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจย้อน หลังได้

กรณีที่สอง คือ (โกตดิวัวร์)ไอวอรี่โคสต์ ลงนามประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลเมื่อ 18 เม.ย. 2003 เขียนยอมรับว่า ตามมาตรา 12 วรรค 3 ของธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ รัฐบาลไอวอรี่โคสต์ยอมรับให้เข้ามามีอำนาจตั้งแต่ 19 กันยายน 2002 จากนั้นมีการให้สัตยาบัน แล้วเมื่อปี 2010 เมื่อเปลี่ยนประธานาธิบดีคนใหม่ก็ประกาศซ้ำอีกรอบหนึ่ง สุดท้ายวันที่ 10 ก.พ. 2012 ให้ย้อนกลับไปสอบสวนตั้งแต่ 19 กันยายน 2002

อย่างไรก็ตาม การยอมรับเขตอำนาจศาลนั้นถอยไปไม่เกิน 1 ก.ค. 2545 ซึ่งเป็นวันที่ธรรมนูญกรุงโรมประกาศใช้ นายปิยบุตรกล่าวว่า หากถามเขาว่าจะให้เลือกทางไหน ถ้าพูดแบบฝันก็เอาทั้งสองทาง คือ หนึ่งประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลก่อน จากนั้นให้สัตยาบัณซ้ำอีกที แต่กรณีของไทย แค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ยังไม่ได้ ถ้าให้หวังว่ารัฐบาลไทยจะทำทั้งสองอย่างยิ่งเป็นไปไม่ได้

นายปิยบุตรอธิบายต่อไปว่า เมื่อประกาศรับเขตอำนาจศาลแล้ว ศาลจะรับพิจารณาคดีของเราหรือไม่เป็นอีกเรื่อง ซึ่งศาลมี
ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ, สงคราม และการรุกราน


ทั้งนี้ ศาลอาญาระหว่างระเทศเป็นศาลเสริม ศาลเสริมในที่นี่มาตรา 17 ธรรมนูญกรุงโรมก็เขียนไว้ว่ากระบวนการยุติธรรมในประเทศของคุณต้องดำเนินการ ให้เสร็จครบถ้วนเสียก่อน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการรุกล้ำอำนาจอธิปไตยของประเทศต่างๆ แต่ธรรมนูญกรุงโรมก็ระบุลักษณะที่ศาลอาญาระหว่างประเทศที่จะมีอำนาจเข้ามา พิจารณาคดีว่า กระบวนการยุติธรรมของประเทศไม่มีเจตจำนงจะดำเนินคดี หรือไม่มีความสามารถในการดำเนินคดี

คดีที่วางบรรทัดฐานไว้คือคดีซูดานซึ่งไม่ได้เป็นรัฐสมาชิก แต่ไปสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศได้เพราะคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติให้ ส่งให้ แต่ของไทยโรเบิร์ตอัมสเตอร์ดัมส่งคดีให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เช่นกัน แต่หวังยากเพราะเมื่อเทียบซูดานนั้นมีคนตายจำนวนมาก

ส่วนคำว่า ไม่มีความสามารถหรือไม่มีเจตจำนงในการดำเนินคดีมีความหมาย เช่น ประเทศที่มีการนิรโทษกรรมบ่อยๆ แสดงว่าไม่มีเจตจำนง ส่วนคำว่าไม่มีความสามารถคือศาลไม่เป็นกลาง ไม่มีความน่าเชื่อถือ ถ้าเกิดเหตุการเช่นนี้ศาลเสริมก็มีอำนาจที่จะเข้ามาพิจารณาได้

จากเงื่อนไขเหล่านี้ เงื่อนไขการกระทำความผิด ต้องเป็นความผิดร้ายแรงอย่างยิ่ง ซึ่งแนวบรรทัดฐานที่ผ่านมามีคดีที่ได้พิพากษาไป 1 คดีที่วางแนวว่าร้ายแรงเพียงพอคือ มีขนาดใหญ่มาก และวิธีการที่กระทำความผิดเป็นวิธีการที่รุนแรงร้ายแรงอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม แม้จะเข้าหลักเกณฑ์ดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่ก็จะมาสู่การพิจารณาในประเด็นสุดท้ายคือ คนๆ หนึ่งถูกพิพากษาไปแล้วจะไม่ถูกพิพากษาซ้ำอีก

“ดังนั้นจะเห็นได้ว่าขึ้นตอนต่างๆ ที่จะไปสู่การพิจารณาของศาลาอญาระหว่างประเทศนั้นยากมาก แต่ถ้าจะไม่ทำอะไรเลยก็คงไม่ถูกต้อง และเมื่อผมได้ฟังจากผู้ได้รับผลกระทบแล้วมันสะท้อนว่ากระบวนการยุติธรรมของ ไทยไม่มีใครเชื่อถือ เขาจึงต้องไปฝันถึงสิ่งไกลตัวแม้มันจะริบหรี่

“เราต้องพยายามทำใหเรื่องของศาลอาญาระวห่าปงระเทศไม่ใช่เป็นหัวข้อเฉพาะ คนเสื้อแดงเท่านั้น มันเป็นประโยชน์ต่อปัจเจกบุคคลทุกคน เพราะไม่ว่านรัฐภายหน้าจะเป็นใครแต่ถ้าคิดจะทำความรุนแรงกับประชาชนก็จะฉุก คิดได้ถึงเขตอำนาจของศาล

“แต่ถ้าถามว่าทำไมถึงกล่าวกันบ่อยๆ ว่ายังไม่ถึงเวลา ยังไม่พร้อม อ้างว่าเราต้องทำการศึกษาก่อน เพราะเป็นเรื่องสำคัฐ เป็นเหตุผลคลาสสิกเพื่อดึงเวลา เหตุผลประการที่สองคือ สี่ฐานความผิดนั้นประเทศไทยไม่เคบมีองค์ประกอบความผิดนี้ในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งไม่เกี่ยวกันเลย เขาใช้ธรรมนูญกรุงโรมตัดสิน เหตุผลนี้ไม่สมบูรณ์”

ปิยบุตรวิพากษ์ว่าหตุผลอีกประการที่สำคัญคืออ้างว่าธรรมนูญกรุงโรมขัดกับ มาตรา 8 รธน.วรรค 2 ของไทยที่ระบุว่า ผู้ใดจะฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ ไม่ได้ โดยธรรมนูญกรุงโรมระบุว่า ถ้ากฎหมายภายในให้เอกสิทธิ์คุ้มกันบุคคลใดๆ นั้นอ้างไม่ได้ในศาลอาญาระหว่างประเทศ “วิธีอธิบายที่ง่ายที่สุดเลยว่า แล้ว 121 ประเทศที่ให้สัตยาบันมีประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในยุโรปทั้งหมดที่มีพระมหากษัตริย์ก็ให้สัตยาบันทั้งหมด ญี่ปุ่น กัมพูชา ก็เช่นกัน” โดยนายปิยบุตรตั้งข้อสังเกตว่าประเทศที่ไม่ยอมลงนาม เพาะรู้สึกว่าวันข้างหน้าจะโดนหรือไม่ เช่น อเมริกา รัสเซีย

“การอ้างรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ต่างประเทศเขาก็ถามว่าประเทศคุณพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญหรือ ก็เรียนไปยังส่วนราชการต่างๆ อย่าอ้างเหตุผลมาตรา 8 เลยเพราะไม่เป็นผลดีต่อสถาบันกษัตริย์”

สถิติศาลอาญาระหว่างประเทศเพิ่งดำเนินคดี 7 กรณีจากสามพันกว่ากรณี
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากคดีที่ฟ้องร้องไปยังศาลฯ กว่าสามพันคดี มี 7 คดีเท่านั้นที่เข้าสู่กระบวนการพิจารณา คือยูกานดา คองโก เป็นสมาชิก รัฐบาลส่งเอง เคนยา เป็นสมาชิก อัยการศาลอาญาระหว่าประเทศลงมาขอเปิดการสอบสวนเอง ลิเบีย และโกตดิวัวร์ ทั้งหมดเป็นประเทศอาฟริกา

อีกแปดกรณีกำลังอยู่ชั้นการไต่สวนเบื้องต้น มีเกาหลีใต้ มาลี ฮอนดูรัส จอร์เจีย โซมาลี เป็นต้น กรณีมาลี กับฮอนดูรัสพัวพันกับการรัฐประหารด้วย

ส่วนขั้นตอนของญาติฯ ที่ร้องโดยโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมเป็นทนายนั้นจะใช้เวลาค่อนข้างยาวนาน และเมื่อเป็นกฎหมายระหว่างประเทศก็พันกับการเมืองระหว่างประเทศ

“เราจะเห็นกรณีโกตดิวัวร์ ยื่นคำร้องปี 2002 กว่าจะพิจารณาคดีก็ปี 2012 ซึ่งประธานาธิบดีคนใหม่เข้ามา ปนะเทศยุโรปหนุนหลังเกือบทั้งหมด

“สิ่งที่ฝากถึงรัฐบาลก็คือ น่าจะพูดกันตรงไปตรงาว่าไม่ลง หรือลง จะให้เขตอำนาจย้อนหลัง หรือจะให้สัตยาบัน ก็บอกมา แต่อย่าขายความฝันว่ายังศึกษาอยู่ แล้วคนเสื้อแดงที่สู้เรื่องนี้ ผมก็นับถือหัวจิตหัวใจ คือคนที่ไม่รู้จะหวังกับอะไร แล้วความหวังริบหรี่แบบนี้มันมีคุณค่ามหาศาลมากกว่าให้นักการเมืองเอาความ หวังที่ริบหนี่นี้โหนกระแสไปเรื่อยๆ”

ส่วนกรณีที่จะอาศัยช่องทางสัญชาติอังกฤษ ต้องมีการดำเนินคดีกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่ประเทศอังกฤษก่อน ปัญหาคือใครจะไปดำเนินการดังกล่าว อีกส่วนหนึ่งคือ ศาลอาญาระหว่างประเทศระบุว่า อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ คนทำเพียงคนเดียวคงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นก็ต้องกลับไปที่ช่องทางการให้สัตยยาบันธรรมนูญกรุงโรม หรือประกาศฝ่ายเดียวให้ศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจในการพิจารณาคดี 

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42145

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น