เหยื่อสลายการชุมนุม เผยไม่มั่นใจกระบวนการยุติธรรมไทย
ในงานเสวนาเปิดรายงานความจริงเพื่อ
ความยุติธรรมของ ศปช. มารดาของนางสาวกมลเกด ระบุ
สาเหตุที่ต้องนำคดียื่นต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ
เนื่องจากไม่มั่นใจกระบวนการยุติธรรมของไทย
นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดานางสาวกมลเกต
อัคฮาด พยาบาลอาสาที่เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 19
พฤษภาคม 2553
ร่วมงานเสวนาเปิดรายงานความจริงเพื่อความยุติธรรมของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้
ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2553
หรือ ศปช. เปิดเผยในฐานะผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมว่า
ที่ผ่านมา 2 ปี
กระบวนการยุติธรรมไทย
ยังไม่ดำเนินการเกี่ยวกับเหตุการณ์ความสูญเสียช่วงเดือนเมษายนถึง
พฤษภาคม2553
จนทำให้ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมต้องเข้าขอความเป็นธรรม
ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ไอซีซี
และต้องการประกาศให้ประชาคมโลกได้รับรู้ถึงการกระทำที่ไม่เหมาะสม
ในการยุติการชุมนุมของประชาชนในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ด้านนายปิยะบุตร แสงกนกกุล
อาจารย์คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวถึงกรณีที่ประเทศไทยไม่ได้ทำสนธิสัญญากับศาลอาญา
ระหว่างประเทศว่าประเทศไทยมี 2
ช่องทางที่จะสามารถนำคดีการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม
2553 ในการยื่นสำนวนคดีให้ศาลอาญาระหว่างประเทศพิจารณาคดีคือ
การลงนามสัตยาบรรณ ยอมรับเขตอำนาจศาล หรือใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 12 วรรค
3 เพื่อยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศให้พิจารณาเฉพาะเรื่อง
รายงานความจริงเพื่อความยุติธรรมเกี่ยวกับ
เหตุการณ์และผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม
2553 จะรวบรวบรายงานเพื่อเปิดเผยต่อสาธารณะชน
โดยประชาชนที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ flickpeople.com
(อ่านต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น